Page 21 - version 4 260566
P. 21

นโยบายรัฐบาล
                       ในรัฐบาลปัจจุบันโดยมีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของ

               คณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 โดยได้กำหนดแนวทาง
               การแก้ปัญหาของประเทศเป็นสามระยะ และมีนโยบาย 11 ด้าน โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วย
               การพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักสำคัญ รวมถึงใช้ปรัชญา
               เศรษฐกิจพอเพียง แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและความต้องการของประชาชนเป็นแนวทาง

               ในการกำหนดนโยบาย ดังนี้
                      ๑)  การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
                      ๒)  การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
                      ๓)  การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ

                      ๔)  การศึกษาและเรียนรู้การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
                      ๕)  การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน
                      ๖)  การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
                      ๗)  การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน

                      ๘)  การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาและ
                          นวัตกรรม
                      ๙)  การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้

                          ประโยชน์อย่างยั่งยืน
                      ๑๐)  การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริต
                            และประพฤติมิชอบในภาครัฐ
                      ๑๑)  การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขคือ
                            นโยบายด้านที่ 5 การยกระดับคุณภาพ บริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน

                            โดยรัฐบาลจะวางรากฐานพัฒนาและเสริมความเข้มแข็งให้แก่การ ให้บริการด้านสาธารณสุข
                            และสุขภาพของประชาชนโดยเน้นความทั่วถึงความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนี้
                            (๑)  วางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมี

                                คุณภาพโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบและบูรณาการข้อมูล
                                ระหว่างทุกระบบ หลักประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
                            (๒)  พัฒนาระบบบริการสุขภาพโดยเน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงมารักษา
                                สร้างกลไกการจัดการสุขภาพในระดับเขตแทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางปรับระบบ

                                การจ้างงาน การกระจายบุคลากรและทรัพยากรสาธารณสุขให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและ
                                ให้ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการจ้าง บุคลากรเพื่อจัดบริการสาธารณสุขโดยรัฐเป็น
                                ผู้กำกับดูแลสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการ พัฒนาระบบบริการทาง
                                การแพทย์และสาธารณสุขโดยส่งเสริมการร่วมลงทุนและการใช้ทรัพยากรและบุคลากร

                                ร่วมกันโดยมีข้อตกลงที่รัดกุมและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
                            (๓)  เสริมความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคระบาดโดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ
                                โดยมีเครือข่ายหน่วยเฝ้าระวังหน่วยตรวจวินิจฉัยโรคและหน่วยที่สามารถตัดสินใจ
                                เชิงนโยบายในการสกัดกั้น การแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที





                                                                                                         15
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26