Page 24 - version 4 260566
P. 24
๓.๒ จุดยืน และตำแหน่งการพัฒนากองบริหารการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖6 – ๒๕70
(Strategic Positioning)
จุดยืน และตำแหน่งเชิงนโยบาย (Policy – based Position)
๑) การร่วมเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนภารกิจ นโยบายและ
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสังคมแห่งสุขภาวะ ประชาชนสุขภาพดี ระบบสุขภาพยั่งยืนของกระทรวงสาธารณสุข
และการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุสุขภาพดี ตามทิศทางการพัฒนาประเทศให้เกิดผลสัมฤทธิ์
๒) การพัฒนามาตรการ กลไก เพื่อหนุนเสริมและ เชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในระบบบริการ
สุขภาพ รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากฐานสุขภาพ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการสร้างสรรค์และ
พัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายระบบบริการสุขภาพและการพัฒนาหน่วยบริการ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทย
ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ในระดับสากล และการเชื่อมโยงเศรษฐกิจจากระบบบริการ
สุขภาพกับการพัฒนาประเทศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor) พื้นที่
เศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) พื้นที่ท่องเที่ยวนานาชาติ พื้นที่เป้าหมายการพัฒนา
กรุงเทพมหานครสู่เมืองเป้าหมายของโลก (World-class City) และจังหวัดนานาชาติ (International City)
๓) การส่งเสริม สนับสนุน สร้างสรรค์ และขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและหน่วย
บริการสุขภาพให้มีการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและ
ความจำเป็นทางสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
๔) การพัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรมระบบบริการสุขภาพ หน่วยบริการสุขภาพ เพื่อรองรับ
การพัฒนาประเทศที่เท่าเทียม และการเข้าถึงระบบสุขภาพที่สะดวก ไม่เหลื่อมล้ำ ร่วมพัฒนาการสาธารณสุข
ที่เทียบเคียงได้กับสากลสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว
จุดยืนและตำแหน่งเชิงภารกิจ (Mission – based Position)
๕) การนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการกลไก กฎระเบียบ กฎหมาย หลักเกณฑ์
เพื่อการพัฒนา เพิ่มศักยภาพ และยกระดับระบบบริการสุขภาพและหน่วยบริการ ภายใต้ภารกิจของกระทรวง
สาธารณสุขให้มีคุณภาพ มาตรฐาน สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ทันสมัย และความจำเป็นทางด้านสุขภาพ
ของประเทศ
๖) การเป็นกลไกหลักในการประสาน เชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจการขับเคลื่อนแผนพัฒนา
ระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) และนโยบายและยุทธศาสตร์การสาธารณสุขของประเทศ และติดตาม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน และความคุ้มค่าของการใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบบริการสุขภาพที่
ยั่งยืน
๗) การขับเคลื่อนนโยบายเฉพาะกิจ นโยบายพิเศษของรัฐบาล นโยบายของผู้บริหารกระทรวง
สาธารณสุข หรือวาระการพัฒนาเชิงนโยบายด้านการสาธารณสุข (Agenda Based) เพื่อให้ถูกนำไปปฏิบัติ
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกระบบสาธารณสุข จนเกิดผลสัมฤทธิ์
๘) การพัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และระบบสนับสนุน
บริการสุขภาพให้สอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์ ทันสมัยด้วยเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับสถานการณ์สุขภาพ
และหนุนเสริมการแข่งขัน และการพัฒนาของประเทศ
18