Page 26 - version 4 260566
P. 26

จุดอ่อน (Weakness: W)
                       ๑)  ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศยังขาดการเชื่อมโยงและออกแบบให้สามารถรองรับกับความต้องการ

               ในระดับนโยบายและหน่วยบริการ หน่วยบริหาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่รองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการ
               พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีความทันสมัยยังไม่สอดรับกับสถานการณ์และความจำเป็นในปัจจุบันและอนาคต
                       ๒)  การขับเคลื่อนการพัฒนางานตามนโยบายเพื่อการยกระดับการพัฒนาระบบบริการทั้งใน
               รูปการพัฒนาและโครงการพิเศษต่างๆ ยังไม่ถูกจัดการอย่างเป็นระบบและครบวงจร ยังขาดการวิเคราะห์

               บทเรียนเพื่อถอดเป็นชุดข้อมูลการตัดสินใจทางการบริหาร เป็นข้อเสนอแนะทางนโยบาย
                       ๓)  มาตรการ กลไก รูปแบบ แนวทาง การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากหน่วยงานของ กองบริหารการ
               สาธารณสุข เพื่อผลักดันเป็นนโยบายยังมีน้อยและยังไม่สามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงและความ
               ต้องการเชิงนโยบายและความจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการสุขภาพ

                       ๔)  สมรรถนะในการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมดิจิทัลและขีดความสามารถ
               ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรยังไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในเชิงภารกิจ และการรองรับความ
               ต้องการของนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนของนโยบายการบริการสุขภาพและสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง
               ทางด้านสุขภาพของประเทศและภัยคุกคามทางสุขภาพจากภายนอก

                       ๕)  การจัดการความรู้ภายในหน่วยงานยังไม่เป็นระบบ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียความรู้ไปกับ
               การสูญเสียบุคลากร ที่เท่าทันอย่างต่อเนื่องกับการเปลี่ยนแปลง และยังไม่ครอบคลุมองค์ความรู้
               ทั้งขาดยุทธศาสตร์ในการบริหารและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจของนโยบายและยุทธศาสตร์

               ทั้งของ กองบริหารการสาธารณสุข และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                       ๖)  ภารกิจสนับสนุนทั้งด้านธุรการสารบรรณ การเจ้าหน้าที่ การอำนวยการ การเงินและบัญชี
               ยังไม่มีความคล่องตัว ทันสมัย ที่สามารถรองรับกับความจำเป็นตามภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
               ของการเป็นองค์กรนวัตกรรมสมรรถนะสูงที่ทันสมัยได้
                       ๗)  การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกองบริหารการสาธารณสุขยังไม่เป็นระบบและครบวงจร

               ขาดการนำแผนงานโครงการตามยุทธศาสตร์มาแปลงสู่การปฏิบัติ และขาดการติดตามประเมินผลและ
               ถอดบทเรียน โครงการเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดการสร้างสรรค์โครงการเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์


               โอกาส (Opportunity: O)
                      ๑)  โครงสร้างการบริหารจัดการ และการบริการของกระทรวงมีหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับ
               นานาชาติ ประเทศ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน  และมีภาคเครือข่ายในระบบสาธารณสุข และ
               กลไกเครือข่ายร่วมจากภายนอก

                      ๒)  ความจำเป็นในการพัฒนาการสาธารณสุขของประเทศตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ๒๐ ปี
               นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทำให้การขับเคลื่อน
               กับหน่วยงานภาคีแต่ละระดับทำให้ได้รับความร่วมมือมากขึ้น
                      ๓)  ความคาดหวังและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพของระบบบริการสุขภาพเพื่อสนองตอบ

               ต่อความต้องการของประชาชน นักท่องเที่ยว นักลงทุน ประชาชนในภูมิภาคอาเซียน ที่จะเป็นโอกาสในการ
               ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของระบบบริการสุขภาพให้มีความเป็นสากลและการได้รับการสนับสนุน
               จากระดับนโยบายทั้งระดับกระทรวงและรัฐบาลมีมากขึ้น
                      ๔)  นโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาค  (Medical Hub) และการมี

               พระราชบัญญัติ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ และนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถ


             20
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31