Page 25 - version 4 260566
P. 25
จุดยืนและตำแหน่งเชิงลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder – based Position)
๙) การนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านระบบบริการสุขภาพที่สอดรับกับสถานการณ์
ความเปลี่ยนแปลง และเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพของประเทศ ต่อผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข
และการมีขีดความสามารถในการแปลงนโยบายระบบบริการสุขภาพจากผู้บริหารให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ของหน่วยงานในระบบสาธารณสุขทั้งหน่วยบริหารและหน่วยบริการในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคที่มี
ประสิทธิภาพสูงสุด
๑๐) การประสาน เชื่อมโยง และระดมพลังภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบาย
สุขภาพ และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและการเป็น
กลไกขับเคลื่อนการบูรณาการให้กับพื้นที่ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
๑๑) การบริหารจัดการทรัพยากรในระบบบริการสาธารณสุข (คน งาน เงิน ของ) เพื่อรองรับ
การพัฒนา บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และการพัฒนาตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service
Plan) ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า เกิดความยั่งยืนต่อระบบ
สุขภาพ
๑๒) ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยการ พัฒนา และสร้างสรรค์มาตรการ กลไก นวัตกรรม เพื่อการยกระดับ
ระบบบริการสุขภาพของหน่วยบริการ ให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน
๓.๓ การประเมินศักยภาพ และสภาพแวดล้อมภายนอก (SWOT Analysis)
จุดแข็ง (Strength: S)
๑) ความชัดเจนของโครงสร้างการดำเนินงาน และการรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจสำคัญ
ในการพัฒนาระบบการบริการสุขภาพ จากนโยบายทำให้การประสานงาน การบูรณาการร่วมได้รับความ
ร่วมมือจากหน่วยงาน และความเป็นหน่วยงานหลักในการถ่ายทอดนโยบายระบบบริการสุขภาพตาม Service
Plan นโยบาย ยุทธศาสตร์ของกระทรวง เพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน
และบริหารจัดการทรัพยากร ทำให้ต้องรับผิดชอบทั้งงาน คน เงิน ของ
๒) ความครอบคลุมของภารกิจในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในทุกระดับทั้งระดับหน่วยบริการ
และบริหาร มีหน้าที่โดยตรงต่อการเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาการบริหารสาธารณสุข ทำให้กลไก
การประสานความร่วมมือเพื่อการจัดระบบบริการสุขภาพร่วมกับหน่วยบริการ และหน่วยบริหารเป็นไปอย่าง
บูรณาการ
๓) ความหลากหลายในวิชาชีพของบุคลากร คุณวุฒิ วัยวุฒิ และความเชี่ยวชาญที่มีความแตกต่างกัน
ของบุคลากรและการนำอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้นำ และทีมบริการที่เป็นส่วนหนุนเสริมในการขับเคลื่อน
การพัฒนาระบบสุขภาพมีแง่มุมในการพัฒนาที่กว้างและมีความชัดเจนในทางปฏิบัติ
๔) มีความสำเร็จในการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามภารกิจขององค์กรเพื่อการกระจายอำนาจการ
บริหารการสาธารณสุขในระดับภูมิภาคโดยให้มีระบบเขตสุขภาพ และมีความสำเร็จในการพัฒนาระบบ
การบริการสุขภาพในด้านการพัฒนาแผนบริการที่มีความชัดเจน มีแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการคน งาน เงิน ของ
และนอกจากนั้นยังมีความสำเร็จ ในการขับเคลื่อนนโยบายในการใช้ยาอย่าง สมเหตุผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
๕) กองบริหารการสาธารณสุข เป็นเส้นทางของข้อมูลและสารสนเทศของระบบการพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพ และมีระบบข้อมูลที่ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาตามแผนการบริการสุขภาพ ข้อมูล
การบูรณาการร่วมกับองค์กรภาคีทั้งในและนอกระบบสาธารณสุข ข้อมูลการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น
19