Page 16 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 16

และยังพบว่าอัตราส่วนเพศของผู้สูงอายุ โดยผู้ชาย 74 คน ต่อ ผู้หญิง 10 คน  อัตราส่วนเพศของ
                  ผู้สูงอายุวัยต้น โดยผู้ชาย 83 คน ต่อ ผู้หญิง 100 คน  อัตราส่วนเพศของผู้สูงอายุวัยกลาง โดยผู้ชาย 67 คน

                  ต่อ ผู้หญิง 100 คน และอัตราส่วนเพศของผู้สูงอายุวัยปลาย โดยผู้ชาย 40 คน ต่อ ผู้หญิง 100 คน
                        ในปี พ.ศ. 2564 สถานะสุขภาพของสูงอายุมีภาวะเป็นโรคสมองเสื่อม 6.8 แสนคน โดยผู้ชาย 2.0
                  แสนคน  ผู้หญิง 4.8 แสนคน และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะติดเตียง 46,779 คน และจากการระบาดอย่าง

                  ต่อเนื่องของไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมากทั้งทางสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ
                  และสังคม ซึ่งมีผู้สูงอายุติดเชื้อมากถึง 182,950 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ติดเชื้อในประเทศไทย
                  ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตด้วยโควิด-19 มีจำนวนมากถึง 14,597 รายซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70
                  ของผู้เสียชีวิตด้วยโควิด-19 ทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความทุกข์ยากให้ผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้น้อยลง
                  เนื่องจากการทำงานและรายได้จากลูกหลานลดลง ผู้สูงอายุต้องห่างเหินจากลูกหลาน และเป็นกลุ่มเปราะบาง

                  ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้ผู้สูงอายุเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้น้อยกว่าประชากรกลุ่มอื่น ทำให้ไม่สามารถ
                  เข้าถึงสวัสดิการสังคมที่รัฐจัดให้
                        นอกจากนี้ข้อมูลสุขภาพวัยสูงอายุของกรมอนามัย พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมลดลง

                  จากร้อยละ 51.2 ในปี พ.ศ. 2562 เป็น ร้อยละ 30.8 ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวจะ
                  ส่งผลให้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วน อ้วนลงพุง
                  เมแทบอลิกซินโดรม นอกจากนี้ พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้ที่ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ หรือ 4 คู่สบ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
                  55.36 ใน พ.ศ. 2561 เป็นร้อยละ 61.80 ใน พ.ศ. 2564






            12
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21