Page 15 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 15

กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)


                        ปัจจุบัน สหประชาชาติ (United Nations) ยังไม่มีนิยามที่แน่นอน ว่าอายุเท่าไรจึงจะเรียกว่าเป็น
                  “ผู้สูงอายุ” (older/elderly person) แต่สหประชาชาติใช้อายุ 60 ปีขึ้นไปในการนำเสนอสถิติ ข้อมูล และ
                  ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้อายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นเกณฑ์ในการเรียก
                  “ผู้สูงอายุ”  สำหรับประเทศไทย กำหนดนิยาม “ผู้สูงอายุ” ไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 31

                  “ผู้สูงอายุ” หมายความว่า “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย” โดยกำหนดคำนิยาม
                  ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ได้แก่
                        ผู้สูงอายุ (older person) หมายถึง ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่  ผู้สูงอายุวัยต้น
                  หมายถึง ผู้มีอายุ 60 - 69 ปี  ผู้สูงอายุวัยกลาง หมายถึง ผู้มีอายุ 70 - 79 ปี และ ผู้สูงอายุวัยปลาย หมายถึง

                  ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
                        ประชากรสูงอายุ หมายถึง ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป
                        สังคมสูงอายุ (aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10
                  ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 7)

                        สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (complete-aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป
                  มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14)
                        สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (super-aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป

                  มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20)
                        สังคมสูงวัย (ageing society) มีความหมายอีกอย่างหนึ่งคือ หมายถึง สังคมที่ประชากรกำลังมีอายุ
                  สูงขึ้น สังเกตได้จากอัตราส่วนร้อยของประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
                        อัตราผู้สูงอายุ (older person rate) หมายถึง สัดส่วนคิดเป็นร้อยละของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด
                        การสูงวัยของประชากร (population ageing) เป็นปรากฏการณ์ทางประชากรที่เกิดขึ้นในประเทศ

                  ต่างๆ ทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ เมื่อประชากรในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ชุมชน เขตปกครองระดับต่างๆ
                  ประเทศ ภูมิภาค ฯลฯ มีอายุสูงขึ้น โดยสังเกตได้จากสัดส่วนของประชากรสูงอายุ หรืออายุมัธยฐานของ
                  ประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นในประชากรปิด หรือ ประชากรที่เปลี่ยนไปโดยไม่นับรวมการย้ายถิ่นการสูงวัยของ

                  ประชากร มีสาเหตุมาจากการเกิดที่ลดลง และอายุของผู้คนยืนยาวขึ้น
                        จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๖๔  ประเทศไทยมีประชากรรวม 66.7 ล้านคน ประชากรสูงอายุ
                  ของประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเร็วมาก เมื่อ 50 ปีก่อน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุไม่ถึง 2 ล้านคน แต่ในปี
                  พ.ศ. 2564 จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 12.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็น

                  “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ภายในปี พ.ศ. 2565 และในอีก 20 ปีข้างหน้า (จำนวนผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มจาก
                  12.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2564 เป็น 20.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2583 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.4 ของประชากร
                  ทั้งหมด) ประชากรรวมของประเทศไทยจะเพิ่มช้าลง อัตราเพิ่มประชากรจะลดต่ำลงจนถึงขั้นติดลบ แต่ประชากร
                  สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรยิ่งมีอายุสูงยิ่งเพิ่มขึ้นเร็ว ในขณะที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ

                  4 ต่อปี ผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไป จะเพิ่มด้วยอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 7 ต่อปี







                                                                                                          11

                                                                                                          1
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20