Page 8 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 8

บทที่ 1  บทนำ


                        ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ได้มีการปรับระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
               ผู้ติดยาเสพติดจากเดิม คือ ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ เป็นการสมัครใจเข้ารับ

               การบำบัดรักษา โดยถือว่า “ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการดูแล บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

               โดยมุ่งเน้นการดูแลด้วยกลไกสาธารณสุขแทนการดำเนินคดีทางอาญา เน้นการลดอันตรายที่เกิดจากการ
               ใช้ยาเสพติด และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข และเมื่อสมัครใจ

               เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในสถานพยาบาลของรัฐ ผู้ป่วยจะได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตาม
               ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และหากสถานพยาบาล ที่เข้ารับการรักษาไม่สามารถบำบัดรักษาได้ จะมีระบบ

               ส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า ดังนั้น จึงส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น

               ในระบบสาธารณสุข ในขณะที่สถานพยาบาลที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในปัจจุบัน มีไม่เพียงพอ
               ที่จะรองรับผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหน่วยงานหลัก

               ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด จึงได้มีการจัดระบบบริการด้านการบำบัดรักษา
               และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน

               การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามยุทธศาสตร์ด้านยาเสพติดให้ครอบคลุมทุกมิติ ด้วยการจัดให้มี

               การขยายบริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดอย่างไร้รอยต่อ เพื่อรองรับ
               ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาวในโรงพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งมีจำนวนเตียง

               ไม่เพียงพอสำหรับจำนวนผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อมทั้งได้กำหนดนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล

               ชุมชน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความแออัดและบูรณาการการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ด้วย
               การขยายพื้นที่การให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการ

               ใช้ยาเสพติดในรูปแบบ “มินิธัญญารักษ์” โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้

               ทุกเขตสุขภาพจัดตั้ง “มินิธัญญารักษ์” ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพ
               ละ 1 แห่ง และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขยายการจัดบริการเพิ่มขึ้น เป็นจังหวัดละ 1 แห่ง ภายใต้การ

               ดำเนินการ Quick Win 100 วัน


                 สถานการณ์



                        ยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อประชากรหลายด้าน

               ทั้งสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงความมั่นคงของชาติ จากรายงานของ World Drug Report 2021

               จัดทำโดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs

               and Crime : UNODC) พบผู้ใช้ยาเสพติดทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2562 มีผู้ใช้ยาเสพติดประมาณ







                                                           02
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13