Page 9 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 9

275 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของประชากรโลก โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2573 จะมีผู้ใช้ยาเสพติด

               ประมาณ 299 ล้านคน รายงานยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

               การพัฒนาและความท้าทายล่าสุด ปี พ.ศ.2565 (Synthetic Drugs in East and Southeast Asia : latest

               developments and challenges 2022) จัดทำโดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม

               แห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) พบว่า ยาบ้ายังคงเป็น

               ปัญหาหลัก โดยจำนวนยาบ้าที่ถูกยึดได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2554 - 2564

               มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการคาดประมาณจำนวนประชากรผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย

               ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 452,000 คน ที่ใช้ยาเสพติดเป็นประจำ (มานพ คณะโต และคณะ, 2563)

               พบว่าคนเหล่านี้จะต้องเสียเงินไปกับการซื้อยาเสพติด อย่างน้อย 300 บาทต่อวัน เท่ากับสูญเงินวันละ

               135 ล้านบาท ต่อวัน และใน 1 ปีจะสูญเสียเงินถึงปีละ 4 หมื่นล้านบาท และจากการประมาณการผู้ใช้ยาเสพติด

               ในกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงานที่ใช้ยาเสพติด ร้อยละ 3.60 คิดเป็น 2.51 ล้านคน คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

               753 ล้านบาทต่อวัน (2 แสนล้านบาทต่อปี) นอกจากนี้ รัฐยังต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการบำบัดฟื้นฟู

               และช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ปีละไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท รวมมูลค่าการสูญเสีย

               ทางเศรษฐกิจกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศไทย พบว่า มีจำนวนผู้ใช้

               ยาเสพติดเพิ่มขึ้นทุกปี และประเภทยาเสพติดที่ใช้มีความหลากหลาย รวมถึงราคายาเสพติดถูกลง โดยรัฐบาล

               ได้ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติดอย่างจริงจังทั้งการเฝ้าระวัง ป้องกัน บำบัดรักษา

               และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด ในปัจจุบันพบการเริ่มต้นใช้ยาเสพติดในกลุ่มที่อายุน้อยลง อาจเนื่องจาก

               ความทันสมัยของสื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ ระบบการขนส่งหรือระบบการชำระเงินผ่านออนไลน์ ทำให้เด็ก

               และเยาวชนเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายขึ้น โดยสถานการณ์ปัญหาผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย

               พบว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสะสม

               จำนวนทั้งสิ้น 533,395 ราย (กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต จากฐานข้อมูล HDC ณ 13 มีนาคม 67)

               กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เริ่มจัดตั้ง “มินิธัญญารักษ์โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข”

               โดยพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความยุ่งยากและซ้ำซ้อนได้ กำหนดให้จัดตั้ง

               หอผู้ป่วยหรือจัดโซนสำหรับดูแลผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด เพื่อรองรับผู้ป่วยในกลุ่ม

               สีส้มหรือสีเหลืองที่พ้นระยะวิกฤติ (Acute) เข้าสู่การดูแลระยะกลาง (Intermediate Care: IMC) ให้ได้รับ

               การดูแลบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด

               ระยะยาว (Long Term Care) ภายใต้การกำกับดูแลของโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นการรับผู้ป่วยที่ส่งต่อ

               การดูแลมาจากหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือรับผู้ป่วยที่ได้รับการ








                                                           03
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14