Page 10 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 10
นำส่งมาจากภาคีเครือข่าย หรือกลุ่มที่บำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอกล้มเหลว หรือผู้ที่มีระดับความเสี่ยงต่อ
การก่อความรุนแรง (SMI-V) ตลอดจนผู้ป่วยที่สมัครใจ (Walk in) เข้ามาขอรับการรักษาด้วยตนเอง
โดยมีเป้าหมายเปิดบริการครอบคลุมทุกจังหวัด
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางการจัดตั้งและพัฒนาระบบบริการ รูปแบบมินิธัญญารักษ์ ในโรงพยาบาลชุมชน
ที่มีความพร้อมในการเป็นแม่ข่าย (Node) ดูแลบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วย
จิตเวชจากการใช้ยาเสพติดในระยะกลาง (Intermediate Care) และ/หรือระยะยาว (Long Term Care)
เพื่อพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการ
ใช้ยาเสพติด
เพื่อลดอัตราการส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลสังกัด
กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต
เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีความจำเป็นและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวช
จากการใช้ยาเสพติด
คำจำกัดความ
มินิธัญญารักษ์ หมายถึง รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด
และผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด โดยให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง
(Intermediate Care) หรือการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดระยะยาว (Long Term Care)
ภายใต้การกำกับดูแลของโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ที่มีความพร้อม
และประสงค์ขยายบริการครอบคลุม Acute/Subacute care ไปจนถึงระยะกลาง (Intermediate Care)
หรือระยะยาว (Long Term Care)
รูปแบบการจัดบริการ
เกณฑ์การจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลในรูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
ยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด ระยะกลาง (Intermediate care) และระยะยาว
(Long Term Care)
04