Page 547 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 547

O22

                               5. ด้านการจัดการกับความเจ็บป่วย หมายถึง การกระท าหรือการปฏิบัติของผู้ป่วยโรค NCDs

                  (ได้แก่ HT, DM, CVD, DLD) ในเขตออ าเภอหนองแซง  ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจกระท ากิจกรรมใด ๆ เกี่ยวกับ
                  อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น อาทิ การเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หน้ามืด ใจสั่น

                  เหงื่อออก ตัวเย็น  แขนขาอ่อนแรง เจ็บอก เป็นต้น หรือการบันทึกและติดตามค่าความดันโลหิต ระดับน้ าตาล

                  ในเลือด ระดับไขมันในเลือด ความยาวรอบเอว น้ าหนัก อย่างสม่ าเสมอ เมื่อมีการเจ็บป่วยเล็กน้อย ซื้อยามา
                  รับประทานเองหรือน าเอาสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาตนเอง เมื่อมีการเจ็บป่วยมาก รีบไปพบ

                  แพทย์หรือไปโรงพยาบาล

                             ความสุข หมายถึง การรับรู้ของผู้ป่วยโรค NCDs ในเขตอ าเภอหนองแซง ในลักษณะที่ผู้ป่วยโรค
                  NCDs มีความพึงพอใจในชีวิต มีทัศนคติที่ดีต่อการด าเนินชีวิต มีความรู้สึกทางบวก มองโลกในแง่ดี มีความคิด

                  เชิงบวกได้ท าในสิ่งที่ตนต้องการ และมีความภาคภูมิใจในการกระท าของตน เกิดขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมการ
                  สร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไม่

                  ติดต่อเรื้อรังหรือโปรแกรม 3ส. 3อ. 1น. (กลุ่มทดลอง) ประเมินความสุขของผู้ป่วยโรค NCDs กลุ่มทดลอง ด้วย
                  การประยุกต์แบบวัดความสุขของคนไทยฉบับย่อ [Thai Mental Health Indicator Version 2007 = TMHI-

                  15]

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         1. มีรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุ่ขภาพดี วิถีธรรม วิ่ถี่ไทย เพื่อป้องกันการเกิด

                  ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โปรแกรม 3ส. 3อ. 1น.)

                         2. เป็นแนวปฏิบัติในการจัดการตนเองด้านสุขภาพส าหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อป้องกันการเกิด
                  ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด 3ส. 3อ. 1น. ของ ดร.นายแพทย์

                  อุทัย สุดสุข ผู้ประดิษฐ์เครื่องมือ
                         3. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะ HT, DM, CVD, DLD ทุกชุมชนในเขตอ าเภอหนองแซง

                  ใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักการ 3ส. 3อ. 1น. สร้างสุขภาวะองค์รวม และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ

                  ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
                         4. หน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องสามารถใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุขภาพดี วิถี

                  ธรรม วิถีไทย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผล

                  ต่องบประมาณในการดูแลระยะยาวส าหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพิงลดลง
   542   543   544   545   546   547   548   549   550   551   552