Page 542 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 542

O17

                         เขตสุขภาพที่ 4 มีประชากรทั้งหมด 5,282,601 ราย ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี (ประชากร

                  1,280,206 คน) จังหวัดปทุมธานี (ประชากร 1,190,720 คน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ประชากร 773,710
                  คน) จังหวัดสระบุรี (ประชากร 668,279 คน) จังหวัดลพบุรี (ประชากร 529,234 คน) จังหวัดสิงห์บุรี

                  (ประชากร 312,310 คน) จังหวัดอ่างทอง (ประชากร 230,992 คน) และจังหวัดนครนายก (ประชากร

                  205,660 คน)(กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ส านักงานเขตสุขภาพที่ 4, 2565) ความชุกโรค NCDs 4
                  โรคหลักในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ปี 2564 พบว่า โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension : HT) จ านวน 610,267

                  คน โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus :   DM) จ านวน 287,864 คน โรคหัวใจและหลอดเลือด

                  (Cardiovascular disease : CVD) จ านวน 33,391 คน และโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular
                  disease : Stroke) จ านวน 31,406 คน ความชุกของ HT, DM, CVD และ Stroke จ าแนกรายจังหวัด พบว่า

                  จังหวัดนนทบุรี มีจ านวน 53,132, 109,707, 7,875, 4,862 ตามล าดับ จังหวัดปทุมธานี มีจ านวน 44,468,
                  89,850, 1,399, 1,092 ตามล าดับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีจ านวน 50,640, 109,076, 4,866, 6,511

                  ตามล าดับ จังหวัดสระบุรี มีจ านวน 39,532, 87,384, 6,340, 9,885 ตามล าดับ จังหวัดลพบุรี มีจ านวน
                  44,822,  95,436, 2,700, 2,733 ตามล าดับ จังหวัดสิงห์บุรี มีจ านวน 17,150, 38,742, 2,304, 1,171

                  ตามล าดับ จังหวัดอ่างทอง มีจ านวน 21,435, 44,597, 5,422, 3,735 ตามล าดับ และจังหวัดนครนายก มี

                  จ านวน 16,685, 35,475, 2,485, 1,417 ตามล าดับ (ส านักงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ, 2564)
                  แสดงให้เห็นว่าโรค NCDs 4 โรคหลักนี้เป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 4 เพิ่มโอกาสเกิด

                  ภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

                         การสร้างเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการพัฒนาสุขภาพที่องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ทุกประเทศ
                  น าไปสู่การปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรค NCDs ให้บรรลุเป้าหมาย 9 ข้อที่ก าหนดข้างต้น โดยเฉพาะข้อที่

                  หนึ่งคือ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรค NCDs การสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย

                  ตามหลักการ 3ส. 3อ. 1น. หรือโปรแกรม 3ส. 3อ. 1น. ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สร้างเสริมสุขภาพองค์รวมคือ
                  สุขภาพกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณวิถีพุทธให้ประชาชนที่มีสุขภาพปกติสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิด

                  โรค NCDs มีสุขภาพดีและมี่อายุ่ยืนยาว และช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค NCDs ให้ผู้ป่วยโรค NCDs
                  มีสุขภาวะและไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรค NCDs ผู้วิจัยจึงสนใจและเล็งเห็นความส าคัญของเครื่องมือที่มี

                  ประสิทธิผลในมิติสร้างเสริมสุขภาพและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ อย่างไรก็ตามยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์

                  จากการวิจัยในประเด็น ‘รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทยเพื่อป้องกันการเกิด
                  ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ จ านวนน้อย ผู้วิจัยจึงศึกษารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพด้วย

                  หลักสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทยเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [โรคความดัน
                  โลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ส าคัญของการ

                  เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ] ในเขตสุขภาพที่ 4  อันจะส่งผลให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรค

                  NCDs ลดลง มีสุขภาวะและไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรค NCDs สอดรับกับนโยบายป้องกันและควบคุม
                  โรค NCDs ของประเทศไทย และส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก
   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546   547