Page 201 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 201
E10
อภิปรายผล
1. อัตราการคงอยู่ในการติดตามดูแลต่อเนื่อง (Retention rate) จำนวน 59 รายคิดเป็นร้อยละ93.33
ผู้บำบัดสามารถอยู่ในระบบการรักษาในหอผู้ป่วยจนครบระยะเวลาในการบำบัดรักษา 28 วัน โดยไม่ร้องขอ
หยุดการบำบัดรักษาและมีพฤติกรรมหลบหนี เนื่องจากการใช้รูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพมี
รูปแบบกิจกรรมตามตารางเวลาจัดกิจกรรมในแต่ละวันที่ส่งเสริมให้ผู้บำบัดได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อฟื้นฟู
สมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ควบคู่กับการรักษาด้วยยา และมีการใช้แบบประเมินอาการเปลี่ยนแปลงทั้ง
ร่างกายและจิตใจเป็นรายบุคคลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยา นักสังคม
สงเคราะห์และผู้ช่วยเหลือคนไข้
2. หยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือนหลังการจำหน่าย (Remission Rate) จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ
93.33 การใช้กิจกรรมครอบครัวบำบัดเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้บำบัดหลังการจำหน่าย ทำให้ครอบครัว
และผู้บำบัดมีความเข้าใจที่ดีต่อกัน และส่งเสริมให้ผู้บำบัดสามารถหยุดเสพยาเสพติดไม่กลับเข้ามาบำบัดซ้ำ
3.คุณภาพชีวิต (Quality of life) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ
90.24 ภายหลังการบำบัดผู้ป่วยได้รับการจ้างงานประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างเหมาบริการ จำนวน 1 ราย
ประกอบอาชีพรับจ้างสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวจำนวน 1 ราย เป็นจิตอาสาชักจูงให้ผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่
กระบวนการบำบัดรักษา จำนวน 1 ราย กิจกรรมที่ผู้บำบัดได้รับการฝึกทักษะอาชีวะบำบัดในระยะการฟื้นฟู
สมรรถภาพจะทำให้ผู้บำบัดสามารถพึ่งพาตนเองในการประกอบอาชีพได้ และการสอนกลไกสมองติดยาจะช่วย
ให้ผู้บำบัดสามารถเกิดทักษะการปฏิเสธการใช้ยาได้ทุกรูปแบบ
ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดรับกับผลของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดในโรงพยาบาล
ธัญญารักษ์ของกรมการแพทย์ ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงสาธารณสุขที่จะขยายการเปิดให้บริการใน
โรงพยาบาลชุมชนต่างๆเพื่อการเข้าถึงของผู้ติดยาเสพติดที่เพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการศึกษาผลของการการบำบัดรักษาในระยะยาว 6 เดือน และ 1ปี
2. ควรมีการเก็บข้อมูลการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) เพื่อวัดความ
ตระหนักรู้หลังการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. ควรมีการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของการเข้าถึงการรับบริการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการ
เพิ่มการให้บริการและการขยายพื้นที่ให้บริการต่อไป