Page 215 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 215
E24
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง
(SMI - VCare) แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลกำแพงเพชร
เสาวภา ศรีภูสิตโต, พัชนี มากเมือง, นิสากร วรศิลป์, อดิศักดิ์ กำแพงจินดา, ศิริวัฒน์ เมฆศิริ,
นิตยา ดีป้องไพ, เสาวลักษณ์ ขอนทอง, กรรณิการ์ ทองช้าง, และ อานุภาพ ชัยยุทโธ
โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในสังคมไทยส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เป็นสาเหตุ
ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ การค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพื่อเข้ารับการรักษา
ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม การส่งต่อผู้ป่วยด้วยบริการจิตเวชฉุกเฉิน เข้าสู่การรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดใน
ทุกจังหวัด ตลอดจนการติดตามดูแลรักษาต่อเนื่องจนถึงในชุมชน จะสามารถช่วยลดภาวะอันตรายจากผู้ป่วย
จิตเวชและยาเสพติดได้ รวมทั้งการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและยาเสพติดให้ครอบคลุมในสถานพยาบาล
ทุกระดับ โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลจิตเวชเท่านั้น (กรมสุขภาพจิต, 2566) ผู้ก่อความรุนแรงที่มี
อาการทางจิตเวชที่ก่อเหตุความรุนแรง พบว่า ร้อยละ 80 มีความเชื่อมโยงกับปัญหายาเสพติด (กระทรวง
สาธารณสุข, 2566) ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการบำบัด
ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมอย่างต่อเนื่อง กลับได้รับการดูแลในระดับที่ต่ำกว่า เพียงร้อยละ 52.82
จากการสำรวจข้อมูลโรงพยาบาลกำแพงเพชร ในระหว่างปี 2564 - 2565 พบผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วย
ยาเสพติดที่มีอาการทางจิตประสาท/คลุ้มคลั่งอาละวาด ทำร้ายตนเอง และทำร้ายคนอื่น จำนวน 14 ราย, 20 ราย
และ 31 ราย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลในปี 2565 พบมากสุดในกลุ่มที่มีประวัติทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรง/
ก่อเหตุการณ์รุนแรงในชุมชน จำนวน 20 คน (ร้อยละ 64.5) ร้อยละ 90.3 มีประวัติใช้สารเสพติด ร้อยละ 48.1
มีประวัติเคยรักษาด้วยอาการทางจิตเวช ที่ขาดการรักษา การดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนี้จำเป็นต้องอาศัยความ
ร่วมมือในทุกภาคส่วน เพื่อคุ้มครองสังคมจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยให้ได้รับการรักษา
ตามมาตรฐานทางการแพทย์ จึงได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการก่อความ
รุนแรงแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือและเข้าถึงระบบบริการได้อย่าง
ถูกต้องและปลอดภัย
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงและเพื่อ
พัฒนาและศึกษาผลลัพธ์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง
(SMI-V Care) เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลกำแพงเพชร
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประยุกต์ใช้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Action
Research) PAOR แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา จากฐานข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม 2) สร้างรูปแบบการดูแล โดย การประชุม
เครือข่ายสุขภาพที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง แกนนำชุมชน เสนอทบทวนผ่านคณะอนุกรรมการ
พรบ.สุขภาพจิตระดับจังหวัด 3) ทดลองนำรูปแบบมาใช้ 4) ประเมินผลลัพธ์การดูแล โดยประชากรที่ศึกษา
ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่ได้รับการรักษาหอผู้ป่วยในจิตเวชโรงพยาบาลกำแพงเพชร ระหว่างเดือน