Page 218 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 218
E27
ผลการพัฒนาระบบการจัดส่ง และจัดเก็บยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต
และประสาทประเภท 2 ชนิดฉีด ที่มีสำรองบนหอผู้ป่วยของ รพ.พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
นางสาวอรวรรณ คำยันต์ และนางสาวปรางทิพย์ สังข์มิ
โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท ผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ในปีงบประมาณ 2566 กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท ได้มีการทบทวนและสำรวจ
กระบวนการจัดส่ง และจัดเก็บยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 ชนิดฉีดที่มี
สำรองบนหอผู้ป่วยทั้ง 18 หอผู้ป่วย พบว่าระบบการจัดส่งยาจากห้องจ่ายยาผู้ป่วยในไปยังหอผู้ป่วยไม่มีความ
ปลอดภัย และรัดกุม รวมทั้งการจัดเก็บยาพบว่าเก็บยารวมกับยาชนิดอื่น และจัดเก็บในรถเข็นยาทั่วไป โดยไม่
มีระบบล็อคกุญแจเพื่อความปลอดภัย และจัดเก็บยาเสพติดในตู้กระจกที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน รวมทั้ง
ระบบการเบิก-จ่ายยาในกรณีที่หอผู้ป่วยนำแอมป์เปล่าใส่กระเป๋าผ้ามาแลกแอมป์ยา ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดความ
เสี่ยงที่ยาจะล่วงตกพื้นหรือสูญหายก่อนถึงหอผู้ป่วย จากการสำรวจบนหอป่วยพบความถูกต้องที่ปฏิบัติตาม
ข้อกำหนดมาตรฐานของโรงพยาบาลของระบบการจัดส่ง และจัดเก็บยาเฉลี่ยเพียงร้อยละ 17.36 จากการ
วิเคราะห์ปัญหาและทบทวนกระบวนการจัดส่ง และการจัดเก็บยาเสพติด ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีการ
กำหนดแนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลที่ไม่ชัดเจน และไม่มีการกำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บยา
จึงได้พัฒนาระบบการจัดส่ง และจัดเก็บยา รวมทั้งได้จัดทำนวัตกรรมกล่องขนส่งยาเสพติดให้มีความเข้มงวด
รัดกุม และปลอดภัย รวมทั้งจัดทำกล่องใส่ยาเสพติดแยกชนิดพร้อมระบุชื่อยาให้ชัดเจน โดยใช้เครื่องมือ
Google sheet มาช่วยจัดการข้อมูลรายการยาและวันหมดอายุของยา ตลอดจนมีการกำหนดหน้าที่ให้
พยาบาลที่ได้รับหมอบหมายเป็นผู้รับชอบในการจัดเก็บยา และเภสัชกร/ จพง.เภสัชกรรม มีการกำกับติดตาม
ทุกๆ 1 เดือน
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการจัดส่ง และจัดเก็บยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและ
ประสาทประเภท 2 ชนิดฉีด ที่มีสำรองบนหอผู้ป่วยต่อความถูกต้องที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานของ
โรงพยาบาลในการจัดส่ง และจัดเก็บยา และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการศึกษา
การศึกษาแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ต.ค.- 31 ธ.ค.
2565 ใน 18 หอผู้ป่วยโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และ paired samples t-Test ดังนี้ ทบทวนแนวทางการจัดการยาเสพติดจากการประเมินของสรพ./สมาคม
เภสัชกรรมโรงพยาบาล ครั้งที่ 2/2565 ปีงบประมาณ 2566 ได้วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของระบบงาน
ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและพัฒนาระบบการจัดการยาเสพติด เพื่อกำหนดมาตรฐานของโรงพยาบาล
ในการจัดส่งและจัดเก็บยาเสพติดในหอผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกัน มีการประเมินการปฏิบัติตาม
ข้อกำหนดโดยใช้แบบประเมินผลก่อนและหลังการพัฒนา (โดยกำหนดให้: ปฏิบัติตามให้คะแนนเท่ากับ 1,
ไม่ปฏิบัติตามให้คะแนนเท่ากับ 0) ดังแสดงในตารางที่ 1 รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลรายการยาและวันหมดอายุของ
ยา โดยใช้แนวคิด LEAN ด้วย google sheet ซึ่งจะทำให้ทราบวันหมดอายุของยาที่กระจายตามหอผู้ป่วยต่างๆ
ได้ทั้งหมด ผ่านการเปิดข้อมูล online แบบ real time