Page 217 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 217
E26
ผู้อื่นแบบเฉพาะเจาะจง (SMI-V3) จำนวน 15 คน เคยมีประวัติก่อคดีอาญารุนแรง (SMI-V4) จำนวน 1 คน
มีประวัติก่อความรุนแรงมากกว่า 1 ข้อขึ้นไป จำนวน 11 คน และพบมีผู้ป่วยที่ความเสี่ยงที่จะก่อเหตุความ
รุนแรง ได้รับการนำส่งรักษาก่อนเกิดเหตุการณ์ จำนวน 27 คน ได้รับการดูแลรักษาภาวะทางกาย /โรคร่วมทาง
กาย จำนวน 30 คน (ร้อยละ 29.7) ส่งต่อโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชจำนวน 3 คน ส่งบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดที่
มินิธัญญารักษ์ จำนวน 2 คน บำบัดฟื้นฟูฯ CBTx จำนวน 2 คน
2. การติดตามหลังจำหน่าย 1 เดือน ไม่พบอาการทางจิตกำเริบหรือการก่อความรุนแรงซ้ำ ติดตาม
ระยะ 3 -6 เดือน ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในซ้ำ สาเหตุจากอาการทางจิตกำเริบ เนื่องจากขาดการรักษา 1 ราย
กลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ 2 ราย ทำร้ายตนเองซ้ำ 2 ราย อยู่ระหว่างการติดตามดูแลต่อเนื่อง 1 ปี
อภิปรายผล
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแบบมี
ส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลกำแพงเพชร ในครั้งนี้ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ นำมาสู่
การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาคีเครือข่าย ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวเข้าสู่ระบบการ
ดูแลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีการประสานความร่วมมือ ขับเคลื่นการดำเนินงานตามนโยบายระดับประเทศ อาศัย
ศักยภาพของภาคีเครือข่าย ช่วยลดช่องว่างในระบบบริการสาธารณสุขได้ ด้านผลลัพธ์ พบว่าผู้ป่วย ที่ก่อความ
รุนแรง พบมากในกลุ่มอาการทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารเสพติด ซึ่งการใช้สารเสพติดเป็นปัจจัย
กระตุ้นนำไปสู่การเกิดอาการทางจิตที่รุนแรงขึ้น รองลงมาเป็นกลุ่มโรคจิตเภท,อาการทางจิตเฉียบพลัน
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในระดับประเทศ และการที่โรงพยาบาลทั่วไป มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดบริการ
หอผู้ป่วยจิตเวช เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยวิกฤติทางด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด ได้รับการดูแลช่วยเหลือในระยะ
วิกฤติฉุกเฉินอย่างองค์รวม ครอบคลุมทั้งการดูแลอาการทางจิต ร่วมกับดูแลภาวะโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน
ทางกาย ลดความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในพื้นที่ได้
สรุปและข้อเสนอแนะ
การศึกษาครั้งนี้ มีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการก่อความ
รุนแรง ที่มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย ในการค้นหา คัดกรองเฝ้าระวัง และนำเข้าสู่
กระบวนการบำบัดที่เหมาะสม จากการวิเคราะห์การกลับเข้ามารักษาซ้ำของป่วยกลุ่มนี้ หลังจำหน่าย ช่วงเดือน
ที่ 3 -5 สาเหตุ คือการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวช ธรรมชาติของการกำเริบซ้ำ ขาดการรักษาต่อเนื่อง จึงต้อง
พัฒนาการวางแผนการจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนารูปแบบการติดตาม Tele -nursing เพื่อเพิ่ม
การคงอยู่ในระบบการบำบัดรักษา