Page 337 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 337
H17
หนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองใช้สื่อโมเดล ฟ.ฟัน 3D
จำนวน 25 คน ผู้สูงอายุมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการไม่ใส่ฟันปลอม การรับรู้ความรุนแรงของการไม่ใส่
ฟันปลอม การรับรู้ถึงผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำ และการรับรู้ถึงอุปสรรค/ค่าใช้จ่ายในการทำฟันปลอม
มีระดับการรับรู้และค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับสูงทั้ง 4 ด้าน และผู้สูงอายุติดต่อรับบริการทำฟันปลอม จำนวน
17 คน คิดเป็นร้อยละ 68.0 ส่วนกลุ่มควบคุมให้ทันตสุขศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการไม่ใส่ฟันปลอม
อยู่ในระดับสูง การรับรู้ความรุนแรงของการไม่ใส่ฟันปลอม การรับรู้ถึงผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำ
และการรับรู้ถึงอุปสรรค/ค่าใช้จ่ายในการทำฟันปลอม อยู่ในระดับปานกลาง และผู้สูงอายุติดต่อรับบริการทำ
ฟันปลอม จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 28.0
สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษา “ฟ.ฟัน 3D : สร้างความตระหนักรู้ การรับรู้ ของผู้สูงอายุในการทำฟันปลอม” พบว่า
การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในการเข้ารับบริการทำฟันปลอม โดยใช้สื่อโมเดล
ฟ.ฟัน 3D ผู้สูงอายุมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการไม่ใส่ฟันปลอม การรับรู้ความรุนแรงของการไม่ใส่ฟันปลอม
การรับรู้ถึงผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำ และการรับรู้ถึงอุปสรรค/ค่าใช้จ่ายในการทำฟันปลอม ในระดับ
การรับรู้สูง และมีการตัดสินใจเข้ารับบริการทำฟันปลอมสูงขึ้น เพราะเนื่องจากผู้สูงอายุจะสามารถรับรู้
ได้ลดน้อยลงตามอายุ จึงจำเป็นต้องใช้โมเดลฟันปลอม แบบ 3 มิติ ที่เสมือนจริงกับช่องปากของตนเอง
ได้เห็นถึงฟันที่ถูกถอนไป ช่องว่างระหว่างฟัน จึงทำให้มีความตระหนักรู้ และสื่อให้เห็นถึงความจำเป็น
ในการทำฟันปลอมมากขึ้น
จำนวนฟันในช่องปากของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นฟันแท้ หรือฟันเทียม มีความสำคัญต่อการมีสุขภาวะ
ที่ดีของผู้สูงอายุ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นแรกทั้งรอยยิ้ม และการรับประทานอาหารได้อย่างสะดวก การมีฟันกราม
อย่างน้อย 4 คู่สบ จึงทำให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี
แบบองค์รวมได้ต่อไป
“ฟ.ฟัน 3D : สร้างความตระหนักรู้ การรับรู้ ของผู้สูงอายุในการท าฟันปลอม”