Page 336 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 336
H16
ฟ.ฟัน 3D : สร้างความเข้าใจดี รับรู้ดี สื่อสารดี ของผู้สูงอายุในการทำฟันปลอม
นายภาณุรักษ์ แก้วน้อย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสะเดา จังหวัดสุพรรณบุรี เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ การดูแลสุขภาพองค์รวมจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้
ความสำคัญ คือ ระบบการดูแลสุขภาพ โดยปัญหาสุขภาพหลักของผู้สูงอายุมักจะเกิดจาก โรคเรื้อรัง
โรคความผิดปกติของอวัยวะรับสัมผัส และโรคในช่องปาก โดยสุขภาพช่องปากและจำนวนฟันที่คงเหลือ
มีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคในช่องปาก และการสูญเสียฟันข้างเคียงได้อีกด้วย โดยจำเป็นต้องสร้าง
ความตระหนักรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ให้มีความรอบรู้ และเห็นความสำคัญที่จะดูแลรักษาฟันให้มีสุขภาพดี
ดังพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 “คนเราเวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจ
ก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่า
ผู้สูงอายุมีฟันแท้เฉลี่ย 18.6 ซี่/คน และมีฟันแท้ใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ และฟันหลัง 4 คู่สบ ร้อยละ 39.4
ซึ่งฟันหลัง 4 คู่สบ มีความสำคัญต่อการบดเคี้ยวอาหาร ให้ผู้สูงอายุได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน โดยมี
นโยบายจัดทำฟันปลอมฟรีในสถานบริการของรัฐ แก่ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ในพื้นที่ ต.หนองสะเดา
อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี พบว่า มีผู้สูงอายุที่ได้รับคำแนะนำจากทันตบุคลากร ไปเข้ารับบริการทำฟันปลอม
ทั้งในสถานบริการของรัฐและคลินิกเอกชน เพียงร้อยละ 15.0 เท่านั้น
จากปัญหาดังกล่าวทันตบุคลากรจึงพัฒนารูปแบบการสร้างความตระหนักรู้ ร่วมกับการประยุกต์
ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model : HBM) โดยใช้สื่อโมเดลฟันปลอม แบบ 3 มิติ
เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้ารับบริการทำฟันปลอมตามนโยบาย เพื่อมุ่งไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดี และ “การสูงวัย
อย่างมีสุขภาวะ” ต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model : HBM)
ของผู้สูงอายุ โดยใช้สื่อโมเดล ฟ.ฟัน 3D : สร้างความเข้าใจดี รับรู้ดี สื่อสารดี กับการให้ทันตสุขศึกษา
ในตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ในกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ ตำบล
หนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ที่สมัครใจเข้าร่วมการดำเนินการศึกษา โดยมีฟันที่ถูกถอน
ไปแล้วอย่างน้อย 1 ซี่ และไม่มีฟันปลอมในช่องปาก จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน
ใช้สื่อโมเดล ฟ.ฟัน 3D : สร้างความเข้าใจดี รับรู้ดี สื่อสารดี และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 25 คน
โดยการให้ทันตสุขศึกษา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา
จากการศึกษา “ฟ.ฟัน 3D : สร้างความตระหนักรู้ การรับรู้ ของผู้สูงอายุในการทำฟันปลอม”
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยใช้สื่อโมเดล ฟ.ฟัน 3D :
สร้างความเข้าใจดี รับรู้ดี สื่อสารดี กับการให้ทันตสุขศึกษา ในการเข้ารับบริการทำฟันปลอม ตำบล