Page 570 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 570

N34

                  อภิปราย

                         1.  จากการศึกษาเชื้อที่พบจากสิ่งส่งตรวจเพาะเชื้อของโรงพยาบาลมัญจาคีรี ในปี พ.ศ.2565
                  จำนวน 610 เชื้อก่อโรค ตรวจพบ Escherichia coli ESBLs 22 isolate ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.6 ของเชื้อก่อโรคที่พบ
                  ทั้งหมด พบเชื้อ Klebsiella pneumoniae ESBLs 5 isolate คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของเชื้อทั้งหมด

                  ในปี พ.ศ.2566 ตรวจพบเชื้อก่อโรคทั้งหมด 820 isolate ตรวจพบ E. coli ESBLs 58 isolate ซึ่งคิดเป็น
                  ร้อยละ 7 ของเชื้อก่อโรคที่พบทั้งหมด พบเชื้อ K. pneumoniae ESBLs 22 isolate คิดเป็นร้อยละ 2.7 ของเชื้อ
                  ทั้งหมด ซึ่งจากการศึกษาความชุกและร้อยละการพบเชื้อ Escherichia coli ESBLs และ Klebsiella pneumoniae
                  ESBLs ต่อการพบเชื้อก่อโรคทั้งหมด พบว่ามีจำนวนเชื้อที่พบปีพ.ศ.2566 สูงขึ้นเป็นสองเท่าจากปีพ.ศ.2565 ซึ่ง

                  อาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และในการศึกษาครั้งนี้พบว่าเชื้อ Escherichia coli ESBLs เป็นเชื้อที่ดื้อยาอันดับหนึ่ง
                  ทั้งในปี พ.ศ.2565 และ2566 ซึ่งเมื่อเทียบความชุกที่พบกับการศึกษาอื่น ๆ ข้อมูลในปีพ.ศ. 2565 ของโรงพยาบาล
                                                                     (1)
                  มัญจาคีรี มีความใกล้เคียงกัน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก  พบความชุกของเชื้อที่สร้าง ESBL ร้อยละ 35.6
                                              (2)
                  โรงพยาบาล เชียงคำ จังหวัดพะเยา  พบความชุกร้อยละ 34.3 เมื่อทำการศึกษาโดยจำแนกตามชนิดของสิ่งส่งตรวจ
                  พบเชื้อ Escherichia coli ESBLs มากที่สุดในสิ่งส่งตรวจจากปัสสาวะ (urine) ร้อยละ 58.7 รองลงมาจากเลือด
                  (blood) ซึ่งพบร้อยละ 37.5 และเชื้อ Klebsiella pneumoniae ESBLs พบมากที่สุดในปัสสาวะ(urine) ร้อยละ
                                                                                                           (3)
                  51.8 รองจากเลือด (blood) ร้อยละ 25.9 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้านี้โรงพยาบาลศิริราช
                                                          (4)
                  และการศึกษาที่สถาบันสุขภาพเด็กชาติมหาราชินี  พบเชื้อ Escherichia coli ESBLs มากในสิ่งส่งตรวจปัสสาวะ
                  มากที่สุดร้อยละ 39 และพบเชื้อ Klebsiella pneumoniae ESBLs มากที่สุดในสิ่งส่งตรวจเสมหะ(sputum) ร้อยละ
                                                         (5)
                  40.6 เช่นเดียวกับการศึกษาของโรงพยาบาลน่าน  พบเชื้อ Klebsiella pneumoniae ESBLs ในสิ่งส่งตรวจเสมหะ
                  (sputum) ร้อยละ 45.8 ซึ่งเป็นไปได้ที่จะตรวจพบเชื้อดังกล่าวเพราะเป็นเชื้อประจำถิ่น แต่ขัดแย้งกับผลการศึกษา

                  ครั้งนี้ที่ตรวจพบเชื้อ Escherichia coli ESBLs และ Klebsiella pneumoniae ESBLs ในปัสสาวะ (urine) และ
                  เลือด (blood) มากที่สุด ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะต้องศึกษาต่อไปถึงความสัมพันธ์ที่พบและส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงาน
                  ที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลรับทราบต่อไปเพื่อหาสาเหตุ และจากการศึกษาการพบเชื้อแยกตามอายุผู้ป่วยและเพศ
                  พบว่าเชื้อ Escherichia coli ESBLs และ Klebsiella pneumoniae ESBLs พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและ
                  พบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ขึ้นไปมากกว่า

                         2.  ผลการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ พบว่า เชื้อ Escherichia coli ESBLs และ
                  Klebsiella pneumoniae ESBLs มีความไวต่อยา Amikacin, Cefoxitin, Imipemem, Meropenem และ
                  Piperacillin-Tazobactam มากกว่าร้อยละ 50 และมีความไวต่อยาต่ำกว่าร้อยละ 50 ในยา Ampicillin,

                  Cefotaxime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Doxycycline, Levofloxacin, Norfloxacin และ Trimethoprim-
                  sulfamethoxazole ซึ่งเมื่อศึกษาเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมามีผลความไวต่อยาเหมือนกัน และจากการศึกษา
                  แนวโน้มความไวของเชื้อ Escherichia coli ESBLsและ Klebsiella pneumoniae ESBLs ต่อยาต้านจุลชีพ
                  ในกลุ่ม Carbapenem พบว่ามีความไวค่อนข้างสูง แต่ในช่วงปีพ.ศ. 2566 พบความไวของยากลุ่ม

                  Carbapenem ต่อเชื้อ Klebsiella pneumoniae ESBLs เริ่มมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากยากลุ่ม Carbapenem
                  ถูกใช้เป็นยาหลักในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อชนิดที่สร้างเอนไซม์ ESBLs ดังนั้นควรเฝ้าระวังเพราะจะก่อให้เป็นเชื้อ
                  ดื้อยากลุ่ม Carbapenem
                  สรุปและข้อเสนอแนะ: จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความชุกของเชื้อ Escherichia coli ESBLs และ

                  Klebsiella pneumoniae ESBLs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและส่วนใหญ่เชื้อจะดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลาย
                  ชนิดและมีโอกาสพัฒนาเป็นเชื้อดื้อยาในกลุ่ม Carbapenem ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรมี
                  การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา กำหนดการแพร่กระจายเชื้อไม่ให้เชื้อที่ดื้อยาเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีการเลือกใช้ยา
                  ต้านจุลชีพสำหรับการรักษาที่เหมาะสม
   565   566   567   568   569   570   571   572   573   574   575