Page 574 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 574
N38
ผลลัพธ์ของการใช้แนวทาง ควบคุมกำกับการใช้ยา Colistin ในโรงพยาบาลอุดรธานี
เภสัชกรหญิงวินัดดา ชุตินารา, แพทย์หญิงสุรีรัตน์ วัชรสุวรรณเสรี,
เภสัชกรหญิงขวัญชนก ธงชัย
โรงพยาบาลอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากปัญหาการเกิดการดื้อยาต้านจุลชีพที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อแผนการรักษาโดยตรง ทำให้รัฐ
ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา และเชื้อดื้อยานั้นอาจแพร่กระจายส่งผลให้เพิ่มโอกาสให้มีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา
มากขึ้น เชื้อดื้อยาที่สำคัญชนิดหนึ่งคือ Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa
ก่อให้เกิดการดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายกลุ่ม สำหรับข้อมูล AMR Trend จากหน่วยงานจุลชีววิทยา กลุ่มงาน
เทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี พบว่า เชื้อดื้อยาอันดับหนึ่งคือ Acinetobacter baumanni
ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจในโรงพยาบาลสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและเข้ารับการรักษา
ตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ยาที่สามารถใช้รักษา A.baumannii ได้แก่ Colistin, Sulbactam และ
Tigecycline ในขณะที่ยาต้านจุลชีพทางเลือกที่ใช้ในการ รักษา Pseudomonas aeruginosa ที่ดื้อยาหลาย
ชนิด (MDR-PA) ที่ดื้อยากลุ่ม carbapenem (CRPA) มีเพียง Colistin เท่านั้น เพราะ Sulbactam และ
Tigecycline ไม่มีฤทธิ์ต่อ P. aeruginosa ดังนั้น Colistin จึงเป็นยาต้านจุลชีพ ที่สำคัญสำหรับใช้ใน
การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อยาหลายชนิดโดยเฉพาะการติดเชื้อที่มีสาเหตุจาก CRPA และ
carbapenem resistant A. baumannii (CRAB) ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการสั่ง
ใช้ยา Colistin มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการสั่งใช้ยาเป็นทั้งแบบ empiric therapy และ document
therapy ส่งผลสอดคล้องกับอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาต่อ Colistin เพิ่มขึ้น ได้แก่ A. baumannii (CoRO),
E. coli (CoRO), K.pneumoniae CoRO และ P. aeruginosa (CoRO) ดังนั้น มติของคณะกรรมการการ
จัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลอุดรธานี จึงกำหนดให้มีการควบคุมกำกับการใช้ยา Colistin
โดยมอบหมายให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ เภสัชกร และ นักเทคนิค
การแพทย์ ระดมความคิด ความรู้ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้เกิดการสั่งใช้ยา Colistin ถูกต้อง
และเหมาะสม
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. กำหนดแนวทาง การควบคุมกำกับและติดตามการสั่งใช้ยา Colistin
2. ประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงาน
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) ไปข้างหน้า
ของทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
ตัวแปรที่ใช้ แนวทางการควบคุม ติดตาม การสั่งใช้ยา Colistin ได้แก่ ส่งเสริมการส่ง septic work
up กำหนดการใช้ยา Colistin แบบ empiric therapy ไม่เกิน 7 วัน กรณีมีการสั่งใช้ยามากกว่า 7 วัน ต้องมี
ผลเพาะเชื้อก่อโรคและผลความไวของเชื้อต่อยาสอดคล้องกับการได้รับยา Colistin และกรณีการสั่งใช้ยา
ไม่เป็นไปตามเกณฑ์กำหนด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา