Page 565 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 565
N29
ผลการศึกษา
- ก่อนการทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติลดการปนเปื้อนการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ (1 มกราคม 2566
ถึง 21 กรกฎาคม 2566) พบเชื้อปนเปื้อน 28 ขวดจากจำนวนขวดเพาะเชื้อที่ส่งไปตรวจทั้งหมด 1,542 ขวด
โดยคิดเป็นอัตราการพบเชื้อปนเปื้อนเฉลี่ย ร้อยละ 1.82
- หลังการทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติลดการปนเปื้อนการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ (22 กรกฎาคม
2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567) พบเชื้อปนเปื้อน 14 ขวดจากจำนวนขวดเพาะเชื้อที่ส่งไปตรวจทั้งหมด
1,547 ขวด โดยคิดเป็นอัตราการพบเชื้อปนเปื้อน เฉลี่ย ร้อยละ 0.90
อภิปรายผล: อัตราการพบเชื้อปนเปื้อนเฉลี่ยของการเพาะเชื้อจากเลือดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมัญจาคีรี
หลังการทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติ ลดลงจากก่อนทบทวนและกำหนดแนวทางปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ
50.55 ซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการทบทวนและกำหนดแนวปฏิบัติทำให้บุคลากรที่เจาะเลือดส่งตรวจ
เพาะเชื้อมีกระบวนการเจาะเลือดเพาะเชื้อที่ดีขึ้น
สรุป: กระบวนการเจาะเก็บเลือดที่ดี จะส่งผลให้อัตราการปนเปื้อนของเชื้อลดน้อยลงได้ ซึ่งบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามแนวทางอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การวินิจฉัยชนิดของเชื้อและตรวจความเร็วของเชื้อ
ต่อยาต้านจุลชีพได้ถูกต้อง จะนำไปสู่การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพได้เหมาะสม ทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะ: จัดกิจกรรมทุกปีเกี่ยวกับการทบทวนและฝึกปฏิบัติกระบวนการเจาะเก็บเลือดส่งเพาะเชื้อ
เนื่องจากทุกๆปีจะมีบุคลากรใหม่เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลมัญจาคีรี ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการปฏิบัติที่เป็น
แนวปฏิบัติเดียวกัน การพัฒนาต่อยอดโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จะมีการจัดทำวิดิทัศน์เกี่ยวกับ
แนวปฏิบัติลดการปนเปื้อนการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ ลงในเว็ปไซต์ของโรงพยาบาล และในไลน์กลุ่มเจ้าหน้าที่
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจาะเก็บเลือด เพื่อที่จะได้ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลและจะมีการติดตามผลทุก 6 เดือน
โดยห้องปฏิบัติการและคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล