Page 573 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 573

N37

                  อภิปราย: จากผลการศึกษาความชุกเชื้อดื้อยาที่พบในการเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจของโรงพยาบาลมัญจาคีรี

                  พ.ศ.2566 เชื้อดื้อยาที่พบมากที่สุดคือเชื้อดื้อยาในกลุ่ม ESBL (extended spectrum beta-lactamases)
                  คือแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งมีฤทธิ์ย่อยสลายยากลุ่มเบต้า-แลคแทม  ทำให้มีการดื้อยาเบต้า -  แลคแตม
                  เกือบทุกกลุ่ม เมื่อนำผลการเพาะเชื้อมาเทียบกับผลของ antibiogram โรงพยาบาลมัญจาคีรี พ.ศ.2566 พบว่า

                  ยากลุ่มเบต้า-แลคแตม ที่มี % susceptible มากที่สุดคือ Piperacillin-Tazobactam  88.7%  เชื้อดื้อยาที่พบ
                  มากเป็นอันดับสองคือเชื้อดื้อยาในกลุ่ม CRE (Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae)  คือ
                  Enterobacteriaceae ที่ดื้อ Carbapenem ตัวใดตัวหนึ่ง ยาที่มี % susceptible จาก antibiogram มากที่สุด
                  ในกลุ่มนี้คือ Meropenem 94.4%  เชื้อดื้อยาที่พบมากอันดับที่สามคือเชื้อดื้อยาในกลุ่ม MRCoNS

                  (Methicillin Resistance Coag Neg Staphylococci) ยาที่มี % susceptible กับเชื้อดื้อยาทุกตัวในกลุ่มนี้
                  คือ Chloramphenical มี % susceptible 100 %  เชื้อดื้อยาที่พบลำดับที่สี่คือกลุ่ม MDR (Multiple
                  resistance) คือเชื้อที่ดื้อยาตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป ยาที่มี % susceptible มากที่สุดในกลุ่มนี้มี Clindamycin
                  และ  Amikacin % susceptible 100% ลำดับที่ห้าคือเชื้อกลุ่ม  MRSA (Methicillin resistant

                  Staphylococcus aureus) คือเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายชนิด โดยเฉพาะยา
                  Methicillin ยาที่มี % susceptible มากที่สุดในกลุ่มนี้คือ Norfloxacin , chloramphenicol และ
                  Trimethoprim-Sulfamethoxazole  มี % susceptible 100 %  กลุ่มสุดท้ายคือเชื้อดื้อยากลุ่ม VRE
                  (Vancomycin Resistance Enterococci) ยาที่มี % susceptible มากที่สุดในกลุ่มนี้คือ Chloramphenical

                  มี % susceptible 100%

                  สรุปและข้อเสนอแนะ: การร่วมกันแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาควรมีการจัดระบบบริการที่ได้มาตรฐาน ดังนี้
                         1.  การจัดทำแนวทางที่ชัดเจนในการรายงานผลการเพาะเชื้อ กรณีตรวจพบว่าผลการเพาะเชื้อ
                  growth ควรต้องรายงานผลเบื้องต้น (การย้อมสีแกรม) เนื่องจากการรายงานผลเบื้องต้นที่รวดเร็วจะช่วยให้
                  แพทย์เลือกวิธีการรักษาผู้ป่วยได้เหมาะสมเร็วขึ้น สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือลดความรุนแรงของโรคได้

                         2.  การจัดระบบดูแลและสนับสนุนให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล การให้ความรู้แก่
                  ประชาชนเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่าง
                  มีประสิทธิภาพ
   568   569   570   571   572   573   574   575   576   577   578