Page 806 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 806
T32
อภิปรายผล
จากผลการดำเนินงานพบว่า อัตราร้อยละการบรรเทาอาการปวดและอาการอื่นด้วย strong opioid
ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ปี2563 ร้อยละ31.88 และปี2566 ร้อยละ 39.20 เนื่องจาก เนื่องจากโรงพยาบาล
รามันยังไม่มีระบบการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุมชัดเจน ยังขาดแพทย์ที่จบสาขาหลัก และแต่ละปีจะมีผู้ป่วย Non
Cancerมากขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ มีอาการที่เป็นข้อบ่งชี้ในการใช้ยาstrong opioid น้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วย Cancer
โดยเฉพาะอาการDyspnea จึงส่งผลให้ผลของการประเมินไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด โอกาศพัฒนา Case Palliative
Care ทุกรายให้นัดเข้าOPD Palliative Care แพทย์ประจำคลีนิคเป็นผู้คัดกรองในการสั่งใช้ยาstrong opioid
ทุกราย ส่วนร้อยละผู้ป่วยที่ได้รับการทำ ACP เป็นลายลักษณ์อักษร ผลเกินเป้าหมาย ผลของการพัฒนาระบบ
การดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่งผลให้ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
มากกว่าร้อยละ80
สรุปและข้อเสนอแนะ
ผู้ป่วยประคับประคองได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ผู้ป่วย
และญาติพึงพอใจ
1. จัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรามัน, รพ.สต., อสม. เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ประคับประคองและการฉีดยาใต้ผิวหนัง การใช้ Syring Driver และการใช้ สมุดสุขกาย สบายใจ
2. หาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนผู้ป่วย ในการจุนเจือในส่วนเครื่องใช้ส่วนตัว แพมเพริส ถุงรองฉี่ เป็นต้น
3. Telemedicine เยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ Bereavement care หลังผู้ป่วยเสียชีวิต 2สัปดาห์ เพื่อ Early
detect complicated grief,depression
4.การนำเทคโนโลยีมาใช้ในผู้สูงอายุค่อนข้างมีขีดจำกัด เนื่องจากไม่มีสมาร์ทโฟนและบางคนไม่มีญาติ
จึงได้เพิ่มช่องทางการติดต่อผ่านอสม.ใกล้ใจ เพื่อจะได้ติดต่อได้อย่างราบรื่น
ภาพกิจกรรม
ประชุมชี้แจ้งคณะทำงานทีมประคับประคอง
จัดทํา Family meeting และ Advance Care Plan ร่วมกับแพทย์ พยาบาล ญาติผู้ดูแล และทีมแพทย์
หลักเพื่อวางแผนการรักษาร่วมกัน
ออกเยี่ยมบ้านทุกวันศุกร์บ่ายคลีนิคประคับประคองทุกวันศุกร์เช้า