Page 802 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 802

T28


                   เพราะชีวิตมีความหมาย จากไปอย่างสมศักดิ์ศรี”การพัฒนาระบบการถอดถอนเครื่องพยุงชีพ

                                          ในผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลบุรีรัมย์

                                                                         กมลพรรณ เทียมมณีรัตน์, สุกัญญา พาสว่าง
                                                                                ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลบุรีรัมย์
                                                                                    จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9

                                                                                 ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหา
                         แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปมากแต่ยังคงมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถหายจากโรคหรือ

                  กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ผู้ป่วยต้องถูกพันธการด้วยเครื่องพยุงชีพ จำนวนหนึ่งต้องรักษาแยกในหอผู้ป่วยหนักเป็น
                  เวลานาน ทั้ง ๆ ที่การรักษาดังกล่าวเป็นเพียงเพื่อยื้อชีวิตในวาระสุดท้าย หลายรายเสียชีวิตไปพร้อมกับเครื่องพยุงชีพที่
                  ถูกเจาะและสอดใส่ในร่างกาย การถอดถอนเครื่องพยุงชีพจึงเป็นการดูแลที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานและการรักษาที่
                  ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวยังไม่เป็นที่คุ้นเคยกับบุคลากรทางการแพทย์มากนัก จึงยังไม่

                  เป็นที่ปฏิบัติในโรงพยาบาล จึงนำมาสู่การพัฒนาระบบการถอดถอนเครื่องพยุงชีพในโรงพยาบาลขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เป็น
                  ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยในวาระท้ายของชีวิต

                  วัตถุประสงค์
                         เพื่อสร้างให้มีระบบการถอดถอนเครื่องพยุงชีพในโรงพยาบาล
                         เพื่อให้มีผู้ป่วยได้รับการถอดถอนเครื่องพยุงชีพในโรงพยาบาล


                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ประสานผู้มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทย์ พยาบาลประจำหอ
                  ผู้ป่วย ผู้ช่วยเหลือคนไข้ นิติกรของโรงพยาบาล ผู้นำทางจิตวิญญาณ จัดประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการถอดถอน
                  เครื่องพยุงชีพที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ (Medical futility) ในผู้ป่วยประคับประคองที่ต้องการถอดถอนเครื่องพยุงชีพ การ

                  ดูแลพยาบาลหลังการถอดถอนเครื่องพยุงชีพ นำมาสู่การสร้างแนวทางปฏิบัติมาตรฐานของโรงพยาบาลเรื่องระบบการ
                  ถอดถอนเครื่องพยุงชีพในโรงพยาบาลขึ้น และทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ใช้
                  สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                  ผลการศึกษา
                         ผู้ป่วยได้รับการถอดถอนเครื่องพยุงชีพในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 ตุลาคม พ.ศ.

                  2566 จำนวน 25 ราย อายุเฉลี่ย 71 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52 (52%) เจ็บป่วยด้วยโรคอวัยวะสำคัญล้มเหลว
                  (End stage organ dysfunction) ร้อยละ 84 (84%)
                         สถานที่ถอดถอนเครื่องพยุงชีพแบ่งเป็นที่หอผู้ป่วยพิเศษ 2 ราย หอผู้ป่วยประคับประคอง 21 ราย
                  และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต 2 ราย
   797   798   799   800   801   802   803   804   805   806   807