Page 805 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 805

T31


                            การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลรามัน

                                                   แพทย์หญิงสิราภา ทองนุ่น,นางวรรณี  แวนาแว,นางริฏา วัฒนศิริวณิชช์

                                                      นางสาวมาสีด๊ะ มะเละแซ,นางสาวกรกนก ยิ่งเจริญ,นางอาดีลัส  สาแลแม
                                                                คลินิกการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลรามัน
                                                                                      จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                               ประเภทวิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         เนื่องจากหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามัน มีผู้ป่วยประคับประคอง Cancer และNon Cancerที่มารับ
                  บริการและมารับการรักษาต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก  เฉลี่ยปีงบประมาณ 2563 จำนวน 69ราย ปีงบประมาณ

                  2564 จำนวน 69 ราย และปีงบประมาณ 2565 จำนวน 94 ราย  ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยกลุ่มCancer ที่แพทย์
                  วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นผู้ป่วยที่มีอาการของโรคที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทําได้เพียงการดูแล
                  แบบประคับประคองในเรื่องการจัดการอาการรบกวนต่าง ๆเช่น อาการปวดและอาการหอบเหนื่อย และอาการ
                  อื่น ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งเสียชีวิต
                  ในที่สุด ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีความตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ

                  ประคับประคองเพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
                  ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะสุดท้ายของชีวิตและเสียชีวิตอย่างสงบ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                            1. ร้อยละการบรรเทาอาการปวดและอาการอื่นๆด้วยstrong opioid ≥ร้อยละ40
                            2. ร้อยละผู้ป่วยที่ได้รับการทำ ACP เป็นลายลักษณ์อักษร ≥ร้อยละ80

                            3. ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ≥ร้อยละ80

                  วิธีการศึกษา
                               1. ประชุมชี้แจ้งคณะทำงานทีมประคับประคอง
                              2. ขออนุญาตผู้ป่วยครอบครัว และขออนุญาตผู้อำนวยการในการแล้วจึงเก็บรวบรวมข้อมูลและให้

                  การพยาบาล
                            3. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
                            4. ค้นคว้าเอกสารทางวิชาการและตำราเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาแบบ
                  ประคับประคอง

                           5. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในการกำหนดแนวทางการดูแลรักษา การ
                  พยาบาล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
                           6.รวบรวมข้อมูลและสรุปผล

                  ผลการศึกษา

                                  ตัวชี้วัด         เป้าหมาย     ปี2563  ปี2564  ปี2565  ปี2566          ปี2567
                                                                                                        (5 เดือน)
                   1.ร้อยละการบรรเทาอาการปวด      ≥ ร้อยละ 40      31.88     48.45     51.14    39.20       53.18
                   และอาการอื่นๆด้วยstrong opioid
                   2.ร้อยละผู้ป่วยที่ได้รับการทำ ACP เป็น ≥ร้อยละ 70   78.26   84.1    87.18    78.50       86.90
                   รายลักษณ์อักษร
                   3.ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อ  ≥ร้อยละ80       89      89.5       96        92       93.27
                   การดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
   800   801   802   803   804   805   806   807