Page 211 - แผนปฏิบัติราชการ 2568
P. 211

- ๑๗๒ -

                          โครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบยาและบริการเภสัชกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕68

                  ๑. หลักการและเหตุผล
                           ระบบยาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุข องค์ประกอบหลักของระบบยา มี 3 ส่วน ได้แก่ ปจจัย
                  นําเขา (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต/ผลลัพธ (outputs/outcomes) ซึ่งปัจจัยนำเข้า ได้แก่
                  องคความรู กําลังคน โครงสรางพื้นฐานที่จำเปน เชน สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ เทคโนโลยี ระบบสนับสนุน

                  ตางๆ ขอมูลสารสนเทศ และงบประมาณ เป็นต้น กระบวนการมีขั้นตอน ได้แก่ การคัดเลือก (selection)
                  การจัดหา (procurement) การกระจาย (distribution) และการใชยา (utilization) ส่วนผลผลิต/ผลลัพธ์
                  ได้แก่ มีเพียงพอ เข้าถึงได้ มีคุณภาพ และพอจะจับจ่ายได้ โดย คุณภาพ หมายถึง มีประสิทธิผล และมีความ

                  ปลอดภัย นอกจากนี้ ต้องมีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีความเท่าเทียมกัน และประเทศมีความมั่นคงทางยา
                  อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการยกระดับนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ขับเคลื่อน
                  สู่ “นโยบาย 30 บาท พลัส” เพื่อสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
                  เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้นด้วยบริการพื้นฐานใกล้บ้าน  อาทิ การนัดพบแพทย์ การตรวจเลือด

                  และการรับยา ลดความแออัด และลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับนโยบายด้านยา มุ่งเน้น
                  ให้ประชาชน “เข้าถึงยาที่จำเป็น สมเหตุผล รวดเร็ว ใกล้บ้าน” ผ่านกระบวนการค้นหา แก้ไขปัญหา เพิ่มการ
                  เข้าถึงยาและเพิ่มคุณภาพการรักษาด้วยยาให้กับผู้ป่วย พัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ
                  ตติยภูมิ ให้มีการรับยาใกล้บ้าน บริการเภสัชกรรมทางไกล (Tele pharmacy) ลดระยะเวลารอคอย

                  ในโรงพยาบาล สร้างระบบส่งต่อผู้ป่วยและยาแบบไร้รอยต่อ สร้างความรอบรู้ด้านยา เพื่อให้ประชาชนสามารถ
                  ดูแลตนเองด้านยาอย่างปลอดภัย รวมถึงพัฒนางานวิจัยและยาหรือสมุนไพรบางรายการเพื่อทดแทนการใช้ยา
                  แผนปัจจุบันซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างเศรษฐกิจประเทศ
                           ปัญหาด้านระบบยาของประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเข้าถึงยา

                  และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การเข้าถึงยานั้นประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ชวยลดชองวาง
                  และความเหลื่อมลํ้าในการเขาถึงยา และช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้ฟรีหรือในราคาย่อมเยา
                  อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประชาชนบางกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงยาได้อย่างเพียงพอ เช่น ประชาชนที่อาศัย

                  อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ประชาชนที่ยากจน และประชาชนที่มีโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาระยะยาว จากการศึกษา
                  ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในปี 2563 พบว่า ประชาชนไทยประมาณ 30% เคยประสบ
                  ปัญหาในการเข้าถึงยา โดยปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ยามีราคาแพง (40%) ยาขาดตลาด (30%) และแพทย์
                  ไม่จ่ายยา (20%) ส่วนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การใช้ยาอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ
                  และปลอดภัย ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เช่น การกำหนดบัญชียาหลักแห่งชาติ

                  (National Formulary: NF) และการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการใช้ยา อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการใช้ยา
                  อย่างไม่สมเหตุผลอยู่เป็นจำนวนมาก จากการศึกษาของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในปี 2563
                  พบว่า การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลในสถานพยาบาลมีอัตราถึง 50% โดยปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่ การสั่งยา

                  ซ้ำซ้อน (30%) การสั่งยาเกินขนาด (20%) และการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมกับโรค (20%) ความท้าทาย
                  ของระบบยา แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นท้าทายที่เกี่ยวข้องกับปจจัยนําเขาของระบบยา
                  ประเด็นความทาทายที่เกี่ยวของกับกระบวนการ และประเด็นความทาทายที่เกี่ยวของกับผลผลิตของระบบยา
                  โดยประเด็นท้าทายที่เกี่ยวข้องกับปจจัยนําเขาของระบบยา ได้แก่ กำลังคนในระบบยายังไม่ตอบโจทย์

                  ของระบบสุขภาพ และข้อมูลยาขาดความเชื่อมโยง ประเด็นความทาทายที่เกี่ยวของกับกระบวนการ ได้แก่
                  การผลิตยาในประเทศลดลง ต้องนำเข้ายา และประเด็นความทาทายที่เกี่ยวของกับผลผลิตของระบบยา ได้แก่
                  การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความไม่เท่าเทียมในการรับบริการด้านยา




                                                                                                  ที่ส่งผล...
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216