Page 412 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 412
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระราชดำรัส เมื่อเสด็จประทานพระโอวาทและพระคติธรรมแก่โครงการ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร
“สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างในการบริบาลพระภิกษุไข้ด้วย
พระองค์เอง แม้ทรงสถิตในที่พระบรมศาสดา แต่ก็ยังทรงเอาพระทัยใส่สอดส่องดูแลพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปทรง
สำรวจตรวจตราความเป็นอยู่ และทรงบริบาลภิกษุอาพาธด้วยความเต็มพระทัยมิได้ทอดทิ้ง แม้ต้องทรงสัมผัส
กับปฏิกูลหรือความยากลำบาก ก็มิได้ทรงรังเกียจ นับเป็นแบบอย่างของบรรพชิต ซึ่งได้บรรพชาอุปสมบทอุทิศ
ชีวิตถวายไว้แด่พระองค์ ให้มุ่งมั่นเจริญรอยตาม
ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายที่ได้มาร่วมอุดมการณ์ในการบริบาลพระภิกษุไข้ในวาระนี้ ฟังกระแสพระ
พุทธดำรัส ดังที่อาตมภาพจะขอเชิญมาเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินโครงการ ความว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึ่งพยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่
พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึ่งพยาบาลภิกษุอาพาธ ...
ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ต้อง
ช่วยกันพยาบาล ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติ...”
พระพุทธดำรัสนี้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่า พระสงฆ์มี “หน้าที่” ที่จะต้องบริบาลรักษาดูแลกัน จะ
ทอดทิ้งกันมิได้ เพราะฉะนั้นการที่สาธุชนมาช่วยถวายความรู้ให้พระสงฆ์มีความสามารถในการบริบาล จึงเป็น
บุญกุศลอย่างยิ่งใหญ่ เป็นการเกื้อกูลให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตนตามครรลองพระธรรมวินัย เพื่อการบำเพ็ญ
สมณธรรมได้อย่างแท้จริง สมตามนัยแห้งพระพุทธานุศาสนี
ขอฝากกระทรวงสาธารณสุขให้จัดทำโครงการอันมีประโยชน์นี้ โดยต่อเนื่องสืบไปเป็นประจำ เพื่อผลิต
พระสงฆ์ผู้มีความรู้ความสามารถในการบริบาล ให้เพิ่มพูลขึ้นจากรุ่นสู่รุ่น กับทั้งขออานุภาพแห่งบุญกุศลอันเลิศ
นี้ จงอำนวยศุภผลให้ท่านทั้งหลาย จงเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดจะปฏิภาณ และธรรมสารสมบัติ เพื่อ
เป็นกำลังในการเกื้อกูลประโยชน์ของหมู่คณะ และส่วนรวม ยิ่ง ๆ ขึ้นสืบไป เทอญ ขอเจริญพร”
3