Page 415 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 415
ศาสตราจารย์พิเศษ นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดี สถาบันพระบรมราชชนก
“ปัญหาการดูแลสุขภาพ พบว่า พระภิกษุที่เจ็บป่วยในวัด หรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เมื่อถูกวางแผนจําหน่ายให้กลับวัด พระภิกษุส่วนใหญ่ต้องดูแลกันเองโดยพระภิกษุรูปอื่นในวัด ในสถานการณ์
เช่นนี้ พระภิกษุในวัดจึงมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ให้การดูแลพระภิกษุที่อาพาธ ซึ่งจะดูแลได้เหมาะสมหรือไม่
เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้และทักษะในการดูแล ดังนั้น การพัฒนาสมรรถนะพระภิกษุในการเป็นผู้ดูแล
สุขภาพพระภิกษุอาพาธ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ประกอบกับ“ธรรมนูญสุขภาพพระภิกษุแห่งชาติ พุทธศักราช
2560” มีเป้าหมายส่งเสริมให้พระภิกษุดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ส่งเสริมให้ชุมชนและ
สังคมดูแลสุขภาพพระภิกษุอย่างถูกต้อง และส่งเสริมบทบาทของพระภิกษุในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของ
ชุมชนและสังคม
ในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ ฉลองพระชนมายุครบ 8 รอบ ของฝ่าพระบาท สถาบันพระบรมราชชนก
กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดโครงการการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด ๑ รูปทั่วไทย โดย
การบูรณาการ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา การวิจัย และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
กับการบริการวิชาการ เป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้นำองค์ความรู้ไปให้บริการ
วิชาการแก่พระภิกษุ และสนับสนุนให้นักศึกษาในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา
เฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้ร่วมเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ให้ความรู้ทางสุขภาพ โดย
การนำความรู้จากการศึกษาไปถ่ายทอดให้พระภิกษุผู้เป็นกลุ่มเป้าหมาย และเป็นการพัฒนาสมรรถนะ
นักศึกษา เพื่อเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ของสถาบันพระบรมราชชนก โดยมี
กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ
เลขานุการเจ้าคณะตำบล และพระภิกษุ 9,๓๖๐ รูป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือน มิถุนายน 2566”
6