Page 417 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 417
สาระสำคัญของโครงการ
1. ชื่อโครงการ โครงการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด ๑ รูปทั่วไทย โดยสถาบันพระบรมราช
ชนก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณา
ยก ฉลองพระชนมายุ 8 รอบ โดยการบูรณาการการเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา การวิจัย และการ
ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการบริการวิชาการ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระ
บรมราชชนก
3. หลักการและเหตุผล
ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ
ประชาชนโดยทั่วไปรวมถึงกลุ่มพระภิกษุสามเณร ปัจจุบันพระภิกษุสามเณรกำลังประสบปัญหาสุขภาพ ข้อมูลจาก
การสำรวจสุขภาพพระภิกษุ-สามเณรทั่วประเทศจำนวน 252,851 รูป จาก 41,142 วัด ในปี 2559
พบว่ามีพระภิกษุสามเณรที่สุขภาพดีเพียงร้อยละ 52 ในขณะที่พบภาวะเสี่ยงร้อยละ 19 และอาพาธถึง
ร้อยละ 28.5 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่มีผู้ดูแล เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อไม่เรื้อรัง โดยปัจจัยที่ทำให้อาพาธคือ
ไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง ดัชนีมวลกายเกณฑ์มาตรฐาน และการสูบบุหรี่ ส่วนโรคที่พบมากสุด 5 อันดับ
แรกเป็นโรคเรื้อรังทั้งหมด ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและ
โรคไตวายเรื้อรัง นอกจากนั้นการศึกษาพระภิกษุในจังหวัดขอนแก่นยังพบผลการศึกษาในทางเดียวกันคือ
พระภิกษุส่วนใหญ่อาพาธด้วยโรคกระเพาะอาหาร รองลงมาเป็นความดันโลหิตสูง ปวดหลัง ปวดเอว ไขมัน
ในเลือด และข้อเสื่อม โรคเรื้อรังเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการประกอบ
กิจกรรมทางพุทธศาสนา
ปัญหาสุขภาพของพระภิกษุยังมาจากการขาดความรู้และความตระหนัก รวมถึงการมีอุปสรรคในการ
ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยพบว่าเมื่อเจ็บป่วยพระภิกษุส่วนใหญ่ซื้อยาฉันเอง มีเพียงบางส่วนไปรักษา
ที่คลินิกเอกชนและโรงพยาบาล แม้พระภิกษุส่วนใหญ่มีสิทธิการรักษาพยาบาลคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้า แต่ยังมีพระภิกษุ ร้อยละ 31.88 ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพใด ๆ นอกจากนั้นมีพระภิกษุที่ไม่เคย
อบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพราะไม่มีเวลาไปอบรม ไม่ทราบว่ามีการอบรม และไม่มีหน่วยงานเข้ามา
อบรมให้ที่วัด โดยพระภิกษุร้อยละ 67.8 มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับน้อยที่สุด 2 ด้าน
คือ ด้านการรักษาพยาบาลตนเองและการตรวจสุขภาพประจำปี นอกจากนั้นพระภิกษุมีแนวโน้มพร่อง
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพจากการที่พระภิกษุต้องรักษาศีล จำนวน ๒๒๗ ข้อ ทำให้พระภิกษุมีข้อจำกัดใน
การดูแลสุขภาพของตนเอง เช่น พระภิกษุต้องสำรวมกาย จึงมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่สามารถ
ออกกำลังกายได้เหมือนบุคคลทั่วไป พระภิกษุส่วนใหญ่จึงไม่ได้ออกกำลังกาย หรือพระภิกษุมีพฤติกรรมการ
บริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถที่จะเลือกเมนูอาหารได้ ต้องฉันอาหารที่ญาติโยมนำมา
ถวาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทไขมันสูง เป็นต้น
จากการวิเคราะห์ปัญหาการดูแลสุขภาพของพระภิกษุอาพาธพบว่า พระภิกษุที่เจ็บป่วยในวัด หรือ
ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อถูกวางแผนจําหน่ายให้กลับวัด พระภิกษุส่วนใหญ่ต้องดูแลกันเอง
โดยพระภิกษุรูปอื่นในวัด มักไม่มีบุคคลใกล้ชิดที่คอยดูแล รวมถึงญาติผู้หญิงไม่สามารถเข้ามาดูแลได้ เนื่องจาก
ผิดวินัยของสงฆ์ ในสถานการณ์เช่นนี้ พระภิกษุในวัดจึงมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ให้การดูแลพระภิกษุที่อาพาธ
ซึ่งจะดูแลได้เหมาะสมหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้และทักษะในการดูแลพระภิกษุอาพาธ ดังนั้น
การพัฒนาสมรรถนะพระภิกษุในการเป็นผู้ดูแลสุขภาพพระภิกษุอาพาธจึงเป็นสิ่งจำเป็น
8