Page 418 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 418

ประเทศไทยมีนโยบายการดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัย รวมถึงการดูแลสุขภาพ
                  พระภิกษุ  ซึ่งระบบการดูแลสุขภาพพระภิกษุที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดคือ “ธรรมนูญสุขภาพพระภิกษุแห่งชาติ

                  พุทธศักราช 2560”  ที่กำหนดข้อตกลงที่เป็นเจตจำนงร่วมกันของพระภิกษุ  ชุมชน สังคมและหน่วยงานที่
                  เป็นภาคีทุกภาคส่วน เพื่อใช้เป็นกรอบในการส่งเสริมสุขภาพพระภิกษุทั่วประเทศ  โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้
                  พระภิกษุดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย  ส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมดูแลสุขภาพพระภิกษุอย่าง

                  ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย  และส่งเสริมบทบาทของพระภิกษุในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและ
                  สังคม การให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพพระภิกษุในสังคมไทยปรากฏเพิ่มขึ้นตามลำดับ
                         ในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จ
                  พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  ฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สถาบันพระบรมราชชนก จึงจัดโครงการการ
                  อบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด ๑ รูปทั่วไทย โดยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การ

                  พัฒนานักศึกษา การวิจัย และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการบริการวิชาการ เป็นการส่งเสริมให้
                  อาจารย์และบุคลากรได้นำองค์ความรู้ไปให้บริการวิชาการแก่พระภิกษุ  และสนับสนุนให้นักศึกษาในสังกัด
                  สถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้ร่วมเรียนรู้จากประสบการณ์

                  ตรงในการเป็นผู้ให้ความรู้ทางสุขภาพ โดยการนำความรู้จากการศึกษาไปถ่ายทอดให้พระภิกษุผู้เป็นกล่มเป้าหมาย
                  ในการอบรม นอกจากนั้นการฝึกให้ความรู้ทางสุขภาพยังเป็นการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษา เพื่อเป็นผู้นำ
                  ทางด้านสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบันพระบรมราชชนก รวมทั้งในระหว่างการอบรมจะมีการ
                  สอดแทรกกิจกรรมการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และประเมินผลการดำเนินโครงการด้วยกระบวนการวิจัย

                  4. วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช
                  สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ
                         2. เพื่อให้พระภิกษุที่เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน
                  โรค

                         3. เพื่อให้พระภิกษุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการบริบาลพระภิกษุไข้
                  ๕. กลุ่มเป้าหมาย
                         กิจกรรมที่ ๑ การมอบนโยบายฯ กลุ่มเป้าหมายรวม ๘๓๔ คน ประกอบด้วย

                         พระภิกษุ ๓๕๗ รูป
                            1.  กรรมการมหาเถรสมาคม  ๒๐ คน
                            2.  เจ้าคณะภาค (มหานิกาย)  ๑๘ คน
                            3.  เจ้าคณะภาค (ธรรมยุต)  ๑๑ คน
                            4.  เจ้าคณะจังหวัด (มหานิกาย) และเลขานุการ ๑๕๔ คน

                            5.  เจ้าคณะจังหวัด (ธรรมยุต) และเลขานุการ ๑๕๔ คน
                         ฆราวาส  ๔๗๗ คน
                            1.  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารกระทรวง

                                สาธารณสุข จำนวน 2๕ คน
                            2.  ผู้ตรวจเขตสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ๑๓ คน
                            3.  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือผู้แทน ๗๗ คน
                            4.  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่เป็นแม่ข่ายของแต่ละจังหวัด หรือผู้แทน  77 คน

                            5.  ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือผู้แทน ๕ คน

                                                              9
   413   414   415   416   417   418   419   420   421   422   423