Page 758 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 758
(3) มีบุคลากรที่มีประสบการณ์และได้รับการรับรองสมรรถนะหรือผ่านการอบรมหลักสูตรที่สอดคล้อง
กับการบริการหรือกิจกรรมที่จะจัดบริการจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรเอกชนที่เป็นนิติบุคคล
ที่ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก าหนด”
ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ก าหนดไว้ว่า ให้ส านักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ และประกาศ
ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ก าหนดเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
พ.ศ.2566 ซึ่งใช้เป็นหลักในการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ โดยตรวจสอบคุณสมบัติของสถาน
บริการเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ข้อบังคับ สปสช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายฯ พ.ศ.2558 ได้ก าหนดประเภทของหน่วยบริการเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. หน่วยบริการประจ า
2. หน่วยบริการปฐมภูมิ
3. หน่วยบริการที่รับการส่งต่อทั่วไป
4. หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้าน
ดังนั้น องค์กรศาสนาและองค์กรภาคประชาชน ที่มีการให้บริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และบริการดูแล
แบบประคับประคองและระยะท้าย ตามแนวทางและตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขก าหนด จะสามารถ
สมัครขึ้นทะเบียนเป็น “หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านสถานชีวาภิบาล” และได้รับการจ่ายชดเชย
ค่าบริการ ตามที่หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่ สปสช. ประกาศก าหนด
การสมัครขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ ตามมาตรา 3 ฯ ผ่านโปรแกรม One Stop Service
เอกสารประกอบการสมัครขึ้นทะเบียน
1. บัตรประจ าตัวประชาชนผู้ได้รับใบอนุญาต/ผู้มีอ านาจลงนามการด าเนินงานหน่วยชีวาภิบาล
1.1 บุคคลธรรมดา บัตรประชาชน (ลงทะเบียนTHAID)
1.2 นิติบุคคล
1) จดทะเบียนที่กรมธุรกิจการค้า (เลขที่นิติบุคคล)
2) วัด
2.1) ชื่อวัด ใบอนุญาตจัดตั้งวัด จากส านักงานพระพุทธศาสนา
2.2) ชื่อเจ้าอาวาส หนังสือสุทธิ
(1) การระบุสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานของพระภิกษุในทะเบียนราษฎรของวัด
หนังสือสุทธิประกอบกับหลักฐานการได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ของพระภิกษุ ระบุชื่อตัว
ชื่อสกุล ของพระภิกษุ โดยวงเล็บต่อท้ายสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน
(2) พระภิกษุที่ไม่เคยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในทะเบียนราษฎรของวัด ให้ใช้ค าว่า
“พระ” เป็นค าน าหน้านาม โดยให้ใช้ค าว่า “พระ” แล้วตามด้วย ชื่อตัว ชื่อสกุลของพระภิกษุ
2. มีคุณสมบัติ โครงสร้าง มาตรฐานบริการตามที่ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก าหนดและได้รับ
การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับการรับรองจากองค์กรที่เป็นนิติบุคคลที่ส านักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติก าหนด
[31]