Page 755 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 755

3)  ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual care)
                                                         20 21
                           (1)  ประเมินความต้องการการดูแลทางจิตวิญญาณ (เครื่องมือ : การสังเกต การสัมภาษณ์และแบบประเมิน
                               spiritual need
                                            22
                           (2)  สร้างสัมพันธภาพและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องกับผู้ป่วยและครอบครัว รับฟังและรับรู้
                               ความรู้สึก มีความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย
                           (3)  สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดการพูดคุยด้านจิตวิญญาณ ช่วยให้ผู้ป่วยค้นหาเป้าหมายความหวัง
                               ความหมายของชีวิตของตนเอง สนับสนุนสิ่งที่ท าให้ผู้ป่วยเกิดความเข้มแข็งภายใน ช่วยให้จิตใจ
                               จดจ่อกับสิ่งดีงาม ใช้การน าความคิดและจินตนาการของผู้ป่วย น าพาตนเองออกจากความรู้สึก

                               เจ็บปวดไปสู่สิ่งที่พึงพอใจ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติธรรม, distraction, imagery,
                               hypnosis, music เป็นต้น
                           (4)  สื่อสารความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยให้ครอบครัวและทีมผู้ดูแลได้รับทราบ
                           (5)  ส่งเสริมการท ากิจกรรมทางศาสนาหรือปฏิบัติตามวัฒนธรรมและความเชื่อ
                           (6)  ช่วยให้ผู้ป่วยอยู่กับความจริง ปล่อยวางสิ่งต่างๆ ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
                           (7)  สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ ท าใจให้สงบ เช่น โดยการนั่งสมาธิ สวดมนต์
                           (8)  ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับและเตรียมพร้อมส าหรับการจากไป เช่น ได้กล่าวค าอ าลา ให้อภัย/
                               ขออโหสิกรรม
                                                 23 24
                        4) ด้านสังคม (Social care)
                           (1)  การประเมินด้านสังคม หมายถึง การประเมินผลกระทบที่มีต่อการเจ็บป่วย ภาระทางการเงิน/ค่าใช้จ่าย
                               รวมถึงภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแลด้วย
                           (2)  การจัดหาผู้ดูแล ส่งเสริม/สนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
                               กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีญาติหรือไม่มีผู้ดูแล แนะน าให้ปรึกษาและประสานนักสังคมสงเคราะห์
                               เพื่อจัดหาผู้ดูแลหรือสถานสงเคราะห์ในการดูแลผู้ป่วย
                           (3)  สนับสนุนผู้ดูแลในการพัฒนาด้านทักษะการดูแลผู้ป่วย (Family Support) สนับสนุนอุปกรณ์
                               การแพทย์ในการดูแลต่อเนื่อง ประสานเครือข่าย/แหล่งบริการด้านสาธารณสุขใกล้บ้านที่เข้าถึงง่าย
                               สะดวกและไม่ต้องเดินทาง
                           (4)  ระบบการดูแลผู้ดูแล เช่น respite care, hotline, grief counseling, bereavement clinic
                           (5)  ปรึกษา/ประสานกับนักสังคมสงเคราะห์ กรณีที่เป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ หรือ ด้านการเงิน
                               อาจหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ แหล่งรายได้ ฝึกอาชีพ เป็นต้น
                                                                 25
                           (6)  การจัดการงานศพ ภายหลังผู้ป่วยเสียชีวิต
                               - การจัดท าหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข (Living Will)
                               - ตั้งศพอยู่ในความสงบ ติดต่อจัดการงานศพและพิธีกรรมอื่นๆ ตามความเชื่อ
                               - หากผู้เสียชีวิตเคยแสดงความจ านงบริจาคอวัยวะไว้ ควรติดต่อศูนย์รับอวัยวะ
                               - แจ้งการตายและขอหนังสือรับรองการตาย ที่ฝ่ายทะเบียนส านักงานเขตท้องที่



               20  รศ.นพ.ประเสริฐ เลิศสงวน สินชัย ,รศ.นพ.อิศรางค์ นุชประ,ผศ.นพ.พรเลิศฉัตรแก้ว, รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. บริษัทโรงพิมพ์อักษร
               สัมพันธ์ (1987) จ ากัด.กรุงเทพฯ. 2550
               21   พรทวี ยอดมงคล. คู่มือส าหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) : การดูแลทางจิต อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยและ
               ญาติ.ส านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). 2559
               22  แบบประเมินพัฒนามาจากแบบประเมินผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย รพ.ศรีนครินทร์
               23  สุวรรณา กิตติเนาวรัตน์, ชัชนาฎ ณ นคร และจอนผะจง เพ็งจาด. (อ้างแล้ว) หน้า 186-187.
               24  กิติพล นาควิโรจน์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว. สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย.บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จ ากัด. 2559
               25  กรรณจริยา สุขรุ่ง. (2553). สุขสุดท้ายที่ปลายทาง : เผชิญความตายอย่างสงบ. หน้า 184.





                                                             [26]
   750   751   752   753   754   755   756   757   758   759   760