Page 16 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 16

จากการที่ศูนย์พึ่งได้ เป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือแบบครบวงจรให้แก่เด็กและสตรีที่ถูกกระท�า

               รุนแรงทางกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งเกือบครึ่งเป็นความรุนแรงทางเพศและข่มขืน ผลที่ตามมาคือ
               ท�าให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ส�านักบริหารการสาธารณสุข
               ส�านักปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ พัฒนาให้เกิดการบูรณาการปัญหา

               ท้องไม่พร้อม  ซึ่งเป็นความรุนแรงทางสังคม  เข้ามาในงานของศูนย์พึ่งได้  ต่อมาเมื่อปัญหา
               ท้องไม่พร้อมได้ถูกก�าหนดให้เป็นวาระประเทศและมียุทธศาสตร์รองรับในปี 2554 และติดตาม
               มาด้วยนโยบายศูนย์ช่วยเหลือสังคมในปี  2556  กระทรวงสาธารณสุขได้รับมอบหมายให้เป็น
               เจ้าภาพหลักในการดูแลประเด็นท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น  และได้ใช้แนวทางการบูรณาการปัญหา
               ท้องไม่พร้อมกับศูนย์พึ่งได้ดังกล่าว  เป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือที่ศูนย์พึ่งได้ของ

               โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ



               1.1    สถานการณ์ท้องไม่พร้อม และผลกระทบต่อประเทศไทย

                    1) สถานการณ์ท้องไม่พร้อม

                    ผู้คนในสังคมไทยยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษาและอนามัยเจริญพันธุ์ อีกทั้ง
               หญิงชายจ�านวนมาก  โดยเฉพาะวัยรุ่น  ยังเข้าไม่ถึงบริการคุมก�าเนิดที่มีประสิทธิภาพ  การขาด
               ความเข้าใจและตระหนักต่อความส�าคัญของอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง ท�าให้เพิกเฉย ไม่คุมก�าเนิด
               หรือใช้อย่างผิดพลาด ประกอบกับ การที่ผู้หญิงมักขาดอ�านาจต่อรองในเรื่องเพศในด้านต่างๆ ซึ่ง

               รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์และเลือกวิธีการคุมก�าเนิด การที่ผู้หญิงจ�านวนหนึ่งประสบความรุนแรง
               ในครอบครัว  และสังคม  รวมทั้งการที่สังคมขาดความตระหนักถึงสิทธิของผู้หญิง  ท�าให้ผู้หญิง
               จ�านวนมากถูกกระท�ารุนแรงทางเพศในรูปแบบของการล่วงละเมิดทางเพศ ล่อลวงมีเพศสัมพันธ์

               และการข่มขืน  สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยส�าคัญที่ท�าให้ผู้หญิงจ�านวนมากในประเทศไทย  โดยเฉพาะ
               วัยรุ่นต้องเผชิญกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
                    ในประเทศไทย อายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของวัยรุ่นลดลงจาก 18-19 ปี ในปี 2539

               เป็น 15-16 ปี ในปี 2552  จากรายงานของส�านักระบาดวิทยาในปี 2555 พบว่า จ�านวนวัยรุ่นไทยที่
                                    1
               มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การส�ารวจในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
               พบว่า นักเรียนชายเคยมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 5.3 ในปี
               2555 ในขณะที่กลุ่มผู้หญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 5.1 ในช่วงเวลาเดียวกัน ส�าหรับ

               วัยรุ่นที่อายุมากขึ้นคือในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และกลุ่มอาชีวศึกษาปีที่ 2 พบว่า
               ร้อยละของการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิง
                                                                                                 2




                    1  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2555
                    2  บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, 2557




                                                          คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้  13
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21