Page 20 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 20

เด็กเกิดน้อย แต่ด้อยคุณภาพ จึงมุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาคุณภาพประชากร เน้นพัฒนาการ
               เกิดที่มีคุณภาพที่เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ที่ผู้หญิงมีความพร้อมและตั้งใจ เพื่อให้ผู้หญิงไม่ต้อง
               เสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนและตายจากการแท้งที่ไม่ปลอดภัย ทารกแรกคลอดมีน�้าหนักสอดคล้อง
               กับเกณฑ์  แข็งแรง  ไม่มีลักษณะผิดปกติหรือไม่ติดเชื้อแรกคลอด  และปราศจากภาวะการขาด

               สารอาหาร รวมทั้งได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่มีความพร้อมเพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพ
               ในปี 2557 ส�านักอนามัยการเจริญพันธุ์ได้มีการพัฒนายุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 โดยยังคงสาระส�าคัญ
               ในด้านการพัฒนาคุณภาพประชากรโดยการพัฒนาการเกิดที่มีคุณภาพ




                    2) ยุทธศาสตร์ป้องกันและดูแลวัยรุ่นท้องไม่พร้อม
                    ในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะเจ้าภาพหลัก

               ในการด�าเนินงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก  พ.ศ.  2546  ได้บูรณาการความร่วมมือกับ
               หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง  จัดตั้งคณะท�างานเพื่อขับเคลื่อนการท�างาน  และจัดท�า
               ยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม  ยุทธศาสตร์ฯ  นี้มี

                          10
               วัตถุประสงค์   เพื่อ  1)  เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์
               ไม่พร้อมในด้านต่างๆ  เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  และ  2)  เป็น
               แนวทางในการพัฒนาระบบการช่วยเหลือให้มีรูปแบบเป็นเอกภาพที่ชัดเจน  รวมทั้งการรณรงค์
               ร่วมกับภาคีเครือข่ายให้สังคมเกิดความตระหนักและร่วมกันแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์
               ไม่พร้อม

                    ยุทธศาสตร์ฯ นี้ ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ย่อย 6 ด้าน คือ 1) การป้องกัน 2) การ
               ช่วยเหลือและบ�าบัดฟื้นฟู 3) การเสริมบทบาทและองค์ความรู้แก่กลุ่มผู้น�าทางความคิดของเด็ก

               และเยาวชน 4) การขจัดสิ่งยั่วยุและอิทธิพลจากสื่อ 5) การผลักดันนโยบาย และ 6) การส�ารวจ
               ข้อมูล การพัฒนาระบบงาน และการติดตามผล โดยยุทธศาสตร์นี้ กระทรวงการพัฒนาสังคม
               และความมั่นคงของมนุษย์  ในฐานะกระทรวงเจ้าภาพในงานด้านสังคม  ได้รับมอบหมายให้
               บูรณาการก�าหนดวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 11

                    กระทรวงศึกษาธิการ จัดระบบให้แม่วัยเยาว์ที่คลอดบุตรแล้วได้กลับมาเรียนต่อ  และพัฒนา
               หลักสูตรการสอนวิชาเพศศึกษาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย

                    กระทรวงแรงงาน ช่วยให้แม่วัยเยาว์ได้รับการอบรมวิชาชีพและจัดหางานให้ท�า รวมทั้งควร
               มีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กลุ่มแม่วัยเยาว์เป็นแรงงานที่มีทักษะและแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคต

                    กระทรวงสาธารณสุข  ให้ความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศ  และการจัดบริการให้ค�าปรึกษา



                    10 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2553
                    11 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2557





                                                          คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้  17
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25