Page 19 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 19
นอกจากความเสี่ยงต่อการเข้าสู่การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยแล้ว การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
โดยเฉพาะในวัยรุ่น ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์สูงกว่าการตั้งครรภ์
ทั่วไป เช่น ภาวะซีดในระหว่างการตั้งครรภ์ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ภาวะตกเลือดหลังคลอด ทารกคลอดก่อนก�าหนด น�้าหนักแรกคลอดต�่ากว่ามาตรฐาน ทารก
มีความผิดปกติแต่ก�าเนิด ทารกเสียชีวิตหลังคลอด และภาวะป่วยทางจิตของผู้ตั้งครรภ์
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการทอดทิ้งทารกไว้ที่โรงพยาบาล หรือทิ้งไว้กับผู้รับจ้างเลี้ยง รวมถึงทิ้ง
ไว้ในที่สาธารณะ ท�าให้เด็กขาดผู้ปกป้องดูแล ขาดความรักและการเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง
ถูกทอดทิ้ง และอาจต้องเติบโตในสถานสงเคราะห์ในที่สุด องค์การยูนิเซฟได้รายงานว่าประเทศไทย
มีทารก 1 ใน 10 ที่เกิดจากแม่วัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี โดย 1 ใน 5 จะเกิดจากแม่ที่ไม่พร้อม
หรือไม่ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ ทั้งนี้ แม่วัยรุ่นจะให้ก�าเนิดทารกแรกเกิดน�้าหนักน้อยเป็น 2.8 เท่าของ
แม่วัยผู้ใหญ่อายุ 20-34 ปี ท�าให้ทารกที่เกิดจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ต้องได้รับการดูแลเป็น
9
พิเศษเพื่อให้มีชีวิตรอดปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้ ยังส่งผลกระทบทางสังคม การรายงาน
ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าแม่วัยรุ่นมีโอกาสออกจากโรงเรียนกลางคันหรือเรียน
ไม่จบ เนื่องจากการตั้งครรภ์ในขณะที่เรียนยังเป็นเรื่องอับอาย และนักเรียนที่ตั้งครรภ์มักถูกบังคับ
ทางอ้อมให้ออกจากการเรียน ท�าให้แม่วัยรุ่นมีโอกาสได้รับการศึกษาต�่ากว่าที่ควรจะเป็น เสียโอกาส
ในการศึกษาและการท�างานที่ดีหรือตกงาน และท�าให้เด็กที่เกิดจากภาวะความไม่พร้อมมีความเสี่ยงที่
จะเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาชญากรรม และความรุนแรงต่างๆ
ประเทศไทยยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในภาพรวมของประเทศ
ทั้งด้านผลกระทบต่อสุขภาพ และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาโดยกองทุน
เด็กแห่งสหประชาชาติก็มีรายงานที่ชัดเจนว่าการคลอดบุตรก่อนอายุ 20 ปี ท�าให้แม่วัยรุ่นมีฐานะ
ทางเศรษฐกิจและสังคมด้อยกว่าแม่ที่คลอดบุตรหลังอายุ 20 ปี ดังนั้น การดูแลแม่วัยรุ่นที่
ท้องไม่พร้อมที่ตัดสินใจท้องต่อ จึงควรต้องได้รับการสนับสนุนสิ่งช่วยเหลือที่จ�าเป็น และพัฒนา
ศักยภาพให้สามารถดูแลบุตรได้ เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพได้ในระดับหนึ่ง ในอันที่จะไม่เป็น
ภาระต่อสังคมในระยะยาว
1.2 นโยบายของประเทศที่ตอบสนองต่อปัญหา
1) นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ
ในปี 2553 ส�านักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดท�า
ยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553-2557 ซึ่งชี้ให้เห็น
การประสบความส�าเร็จในการวางแผนครอบครัว ประกอบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ได้ส่งผลให้
อัตราการเกิดของประเทศไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.3 ท�าให้สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหา
9 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2557
16 คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้