Page 18 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 18
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปัญหาท้องไม่พร้อมนอกจากจะเกิดจากเหตุแห่งความรุนแรงทางเพศแล้ว
ยังเป็นผลพวงแห่งความรุนแรงเชิงโครงสร้างระหว่างหญิงชาย ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์เชิงอ�านาจ
ที่ก่อให้เกิดสังคมที่ชายเป็นใหญ่ ท�าให้วัยรุ่นหญิง รวมทั้งผู้หญิงในสังคมไทย ไม่สามารถปฏิเสธ
การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยได้ การเกิดความรุนแรงในครอบครัว และสัมพันธภาพระหว่างคู่ที่
ไม่มั่นคง การถูกทอดทิ้งจากฝ่ายชาย การมีปัญหาทางจิตใจ และปัญหาด้านเศรษฐกิจระหว่าง
ตั้งครรภ์ ซึ่งท�าให้วัยรุ่นหญิงและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ หรือหาก
ตั้งครรภ์ต่อไป ก็มักประสบความยากล�าบากในการเลี้ยงดูเด็กที่เกิดมา
2) ผลกระทบต่อประเทศไทย
ประเทศไทยก�าลังมีปัญหาการท้องไม่พร้อมที่ขยายตัวรุนแรงมากขึ้นมาก ผลกระทบจากการ
ตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส�าคัญ คือการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย องค์การอนามัย
โลกได้คาดประมาณว่าในแต่ละปี มีผู้หญิงจ�านวน 22 ล้านคนทั่วโลกติดเชื้อและเสียชีวิตจากการ
ท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่คาดประมาณไว้ 20 ล้านคน ในจ�านวนนี้เสียชีวิต
7
47,000 คน และจ�านวนถึง 5 ล้านคนต้องพิการจากการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย ส�าหรับสถานการณ์
8
การท�าแท้งในประเทศไทย เป็นการทบทวนเวชระเบียนของโรงพยาบาลรัฐเป็นหลัก ในปี 2542
ได้ศึกษาในโรงพยาบาลของรัฐ 787 แห่ง จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะแทรกซ้อนจาก
การท�าแท้ง 45,990 ราย โดยได้รายงาน induced abortion ratio อยู่ที่ 19.5 ต่อ 1,000 การเกิด
มีชีพ และ Spontaneous abortion ratio อยู่ที่ 49.1 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ แต่ก็มิได้มีการ
ค�านวณอัตราการท�าแท้งเองและการท�าแท้งด้วยเหตุผลส�าคัญคือ ค่าที่ได้จะต�่ากว่าความเป็นจริง
เนื่องจากเป็นการศึกษาเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่ใช่
ผู้ที่ท�าแท้งทั้งหมด ท�าให้ประเทศไทยไม่สามารถรายงานอัตราการท�าแท้งอย่างเป็นทางการได้
ทางส�านักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดท�าระบบ
เฝ้าระวังสถานการณ์การแท้งในประเทศ พบว่า สถานการณ์ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดย
มีการยุติการตั้งครรภ์โดยบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.7 ในปี 2542 เป็นร้อยละ
77.6 ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม การแพร่หลายของยายุติการตั้งครรภ์ทางอินเทอร์เน็ต ท�าให้มี
สัดส่วนของผู้ยุติการตั้งครรภ์ด้วยตนเองมีสูงถึงร้อยละ 20 ในปี 2554 และร้อยละ 14.5 ในปี 2555
และมีประมาณร้อยละ 5 ที่ยังคงใช้วิธีการที่ไม่ปลอดภัย เช่น การใส่ของแข็งและของเหลว
ทางช่องคลอด หรือการบีบหน้าท้อง
7 World Health Organization, 2012.
8 อ้างแล้วใน 2
คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ 15