Page 17 - คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
P. 17
ส�าหรับการคุมก�าเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากการส�ารวจอนามัยการเจริญพันธุ์ในปี 2552
พบว่า ในประชากรอายุ 15-24 ปี วิธีการคุมก�าเนิดที่ใช้กันมากคือ การใช้ถุงยางอนามัย (ร้อยละ
71.9) รองลงมาคือ ยาเม็ดคุมก�าเนิด (ร้อยละ 18.9) และ ยาเม็ดคุมก�าเนิดฉุกเฉิน (ร้อยละ
4.1) และการนับวันปลอดภัย (ร้อยละ 2.0) โดยมีสัดส่วนที่น้อยมากที่ใช้วิธีการคุมก�าเนิดที่มี
ประสิทธิภาพสูง
ข้อมูลของส�านักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547-2554 และที่
รายงานโดย United Nations Statistic Division พบว่า อัตราการคลอดบุตรจากแม่วัยรุ่นอายุ
10-19 ปีมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2547 อัตราการคลอดตามสถิติสาธารณสุข (ต่อประชากร
หญิง 1000 คน) คิดเป็น 47.3 และเพิ่มเป็น 53.8 ในปี 2555 และเมื่อเปรียบเทียบอัตราการ
คลอดของผู้หญิงในกลุ่มอายุนี้กับประเทศต่างๆ ในโลก พบว่าประเทศไทยนั้นอยู่ในล�าดับที่ 107
ของโลก เป็นอันดับที่ 15 ของเอเซีย และ อันดับที่ 6 ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ 3
ส�าหรับมาตรการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในประเทศไทย โดยเฉพาะการจัดการศึกษา
เรื่องเพศและการบริการคุมก�าเนิดยังคงมีความไม่ชัดเจน คือ สถานศึกษาในสังกัดกระทรวง
ศึกษาธิการ ยังมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องการสนับสนุนให้เยาวชนเข้าถึงข้อมูลและ
บริการการป้องกันการตั้งครรภ์ และการจัดการให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องแม้เมื่อเกิดการตั้งครรภ์
ขณะอยู่ในวัยเรียน และที่ส�าคัญการจัดหลักสูตรเพศศึกษาในระดับการศึกษาต่างๆ ที่เหมาะสม
มีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่องในทุกระดับชั้น อย่างยั่งยืน แม้จะมีผลการวิจัยยืนยันจาก
4
การศึกษาของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ ที่สอดคล้องกับผลการวิจัย จากหลายประเทศ
5 6
ทั่วโลกว่า การมีหลักสูตรเพศศึกษาที่รอบด้านในระดับชั้นเรียนต่างๆ ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์
ในวัยเรียนและการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้มากกว่าการไม่จัดหลักสูตรเพศศึกษา อีกทั้งสังคม
ไทยยังขาดความตระหนักและการสื่อสารที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เข้าใจและทักษะการใช้ชีวิต
ทางเพศอย่างรอบด้าน ประกอบกับการเข้าถึงสื่อต่างๆ อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะสื่อทางอินเทอร์เน็ต
ที่ส่วนใหญ่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศมากกว่าการเรียนรู้อย่างถูกต้องเข้าใจ ท�าให้วัยรุ่นมีโอกาส
มีเพศสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การบริการคุมก�าเนิดที่เหมาะสมและบริการที่เป็นมิตรส�าหรับ
วัยรุ่น แม้ว่าจะได้รับความส�าคัญมากขึ้นตามล�าดับ แต่ก็ยังให้บริการเพียงบางแห่งเท่านั้น
ไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งค่อนข้างเข้าถึงยาก ท�าให้วัยรุ่นจ�านวนมาก
หาซื้ออุปกรณ์คุมก�าเนิดเองจากร้านยาและร้านช�า ส่งผลให้ไม่ได้รับข้อมูลที่รอบด้าน และมักเลือก
วิธีการคุมก�าเนิดที่ประสิทธิภาพต�่า
3 อ้างแล้วใน 2
4 ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และคณะ, 2554
5 Alford S et al., 2008.
6 Kirby D., 2007
14 คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้