Page 66 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 66
บทที่ บทที่ บทที่ บทที่ บทที่
1 2 3 4 5
4. กระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด
หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดส านักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เน้นให้การ
ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีภาวะเร่งด่วนฉุกเฉิน ไม่เกิน 7 – 14 วัน และผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีภาวะโรคร่วมหรือ
ภาวะแทรก ้อนทางกาย ทั้งนี้ หากให้การบ าบัดรักษาโรคทางจิตเวชและยาเสพติดแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือให้การดูแลภาวะโรคร่วม
หรือภาวะแทรกซ้อนทางกายจนอาการคงที่ และผู้ป่วยจ าเป็นต้องได้รับการบ าบัดฟื้นฟูระยะกลาง (Intermediate care) หรือการบ าบัด
ฟื้นฟูระยะยาว (Long-term care) / Rehabilitation อาจพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการบ าบัดรักษาในสถานพยาบาลเฉพาะทาง
ที่เป็นแม่ข่ายในเขตสุขภาพ หรือส่งต่อเข้ารับการบ าบัดในรูปแบบชุมชนบ าบัด หรือส่งต่อเข้ารับการฟื้นฟูสภาพในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ
ของภาคีเครือข่าย โดยกระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในหอผู้ป่วย (Patient care process) ประกอบด้วย
4.1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ (Access & Entry) จัดให้มีกระบวนการรับผู้ป่วยที่เหมาะกับปัญหาสุขภาพ/
ความต้องการของผู้ป่วยอย่างทันเวลา และมีการประสานงานที่ดี โดยมีเกณฑ์การรับผู้ป่วยเพื่อไว้รักษาแบบผู้ป่วยในส าหรับหอผู้ป่วย
จิตเวชและยาเสพติด แบ่งผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน เป็น 3 ระดับ ดังนี้
- ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency) ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental
Illness – Violence: SMI - V) ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง (High Suicidal Risk) ผู้ป่วยโรคจิตที่เกิดจากสารเสพติด
(Substance – Induced psychosis)
- ผู้ป่วยเร่งด่วน (Urgent) ผู้ป่วยกลุ่มโรคทางจิตเวชและยาเสพติดที่มีข้อบ่งชี้จ าเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ได้แก่ ผู้ป่วย
กลุ่ม Psychotic disorder ผู้ป่วยกลุ่ม Mood disorder
- ผู้ป่วยไม่เร่งด่วน (Non - urgent) ได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่ม Substance used disorder ผู้ป่วยกลุ่ม Poor Compliance
ซึ่งในการรับผู้ป่วยไว้ดูแลต้องมีการให้ข้อมูลที่เหมาะสมและเข้าใจง่ายแก่ผู้ป่วย/ครอบครัวเกี่ยวกับสภาพการเจ็บป่วย
การดูแลที่จะได้รับ ผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วย/ครอบครัว ได้รับข้อมูลที่จ าเป็นอย่างเพียงพอด้วยความเข้าใจ
และมีเวลาพิจารณาที่เพียงพอก่อนจะตัดสินใจ รวมถึงต้องมีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลความยินยอมจากผู้ป่วย/ครอบครัวไว้ในเวช
ระเบียนก่อนที่จะจัดให้บริการหรือให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ค ายินยอมรับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ค ายินยอมรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
และค ายินยอมให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการรักษาและกฎหมาย
4.2 การประเมินผู้ป่วย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินความต้องการและปัญหาสุขภาพอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และ
เหมาะสม ดังนี้
- การประเมินแรกรับของผู้ป่วย ประกอบด้วย ประวัติสุขภาพทั้งกายและจิต ประวัติการใช้ยา/สารเสพติด
ทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว การตรวจร่างกาย การรับรู้ความต้องการของตนโดยตัวผู้ป่วยเอง และ การประเมินปัจจัยด้านจิตใจ สังคม
วัฒนธรรม จิตวิญญาณ และเศรษฐกิจ โดยผู้ป่วยได้รับการประเมินภายในเวลาที่เหมาะสมตามที่โรงพยาบาลก าหนด มีการบันทึกผล
การประเมินในเวชระเบียนผู้ป่วยและพร้อมที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลได้ใช้ประโยชน์จากการประเมินนั้น รวมถึงผู้ป่วยทุกรายได้รับ
การประเมินซ้ าตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อประเมินการตอบสนองต่อการดูแลรักษา
- การส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจพิเศษ
ที่จ าเป็นในการวินิจฉัยโรค ได้แก่ ตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ได้แก่ CBC, BUN, Cr, Blood sugar, Electrolytes ตรวจรังสี
เอกซเรย์ (ChestX - Ray) ทุกราย ตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ กรณีสงสัยผู้ป่วยยา/สารเสพติด ตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก
(Psychological test) ตรวจ CT Scan กรณีสงสัยมีพยาธิสภาพทางสมองร่วมด้วย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้
- การวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง โดยมีข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนการวินิจฉัย มีการลงบันทึก
การวินิจฉัยโรคภายในเวลาที่ก าหนดไว้และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม มีการทบทวนความถูกต้องของ
การวินิจฉัยโรค และความสอดคล้องของการวิวินิจฉัยโรคของแต่ละวิชาชีพในทีมให้บริการอย่างสม่ าเสมอ และมีการก าหนดเรื่อง
การลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค เป็นเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด รวมทั้งมีการปรับปรุง
และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
61 แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด