Page 67 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 67

บทที่            บทที่          บทที่         บทที่         บทที่
                      1                2              3             4              5





                4.3 การวางแผน
             - การวางแผนการดูแลผู้ป่วย (Planning  of  Care) ทีมผู้ให้บริการจัดท าแผนการดูแลผู้ป่วยที่มีการประสานกันอย่างดีและ
      มีเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหา/ความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วย โดยมีการวางแผนดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างเชื่อมโยงและ

      ประสานกันระหว่างวิชาชีพ แผนก และหน่วยบริการต่างๆ แผนการดูแลผู้ป่วยตอบสนองอย่างครบถ้วนต่อปัญหา/ความต้องการของผู้ป่วย
      ที่ได้จากการประเมิน มีการน าหลักฐานวิชาการหรือแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยและ
      ครอบครัวมีโอกาสร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาหลังจากได้รับข้อมูลที่เพียงพอ และมีส่วนร่วมในการวางแผน การดูแล มีแผนการดูแล
      ผู้ป่วย มีการระบุเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (ครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว) และบริการที่จะให้ มีการสื่อสาร/ประสานงานระหว่าง
      สมาชิกของทีมผู้ให้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการน าแผนการดูแลผู้ป่วยไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลในเวลาที่เหมาะสม สมาชิก
      ของทีมผู้ให้บริการ มีความเข้าใจบทบาทของผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ และมีการทบทวนและปรับแผนการดูแลผู้ป่วยเมื่อมีข้อบ่งชี้จากสภาวะหรือ
      อาการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป
                    - การวางแผนจ าหน่าย (Discharge  Planning)  การวางแผนจ าหน่ายผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง และ
      ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการหลังจากจ าหน่ายออกจากองค์กร โดยมีการก าหนดแนวทาง ข้อบ่งชี้
      ส าหรับโรคทุกโรคส าหรับการวางแผนจ าหน่าย มีการพิจารณาความจ าเป็นในการวางแผนจ าหน่ายส าหรับผู้ป่วยแต่ละรายเป็น Individual
      Discharge Plan ตั้งแต่ช่วงแรกของการดูแลรักษา ทั้งแพทย์ พยาบาล และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ควรมีส่วนร่วม
      ในการวางแผนจ าหน่าย มีการประเมินและระบุปัญหา/ความจ าเป็นของผู้ป่วยและครอบครัวที่จะเกิดขึ้นหลังจ าหน่าย และประเมินซ้ าเป็น

      ระยะในช่วงที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลอยู่ในโรงพยาบาล มีการปฏิบัติตามแผนจ าหน่ายในลักษณะที่เชื่อมโยงกับแผนการดูแลระหว่าง
      อยู่ในโรงพยาบาล ตามหลักการเสริมพลัง เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพและความมั่นใจในการจัดการดูแลสุขภาพของตนเอง
      รวมถึงมีการประเมินผลและปรับปรุงกระบวนการวางแผนจ าหน่าย โดยใช้ข้อมูลจากการติดตามผู้ป่วยและข้อมูลสะท้อนกลับ
      จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                4.4 การดูแลผู้ป่วย
                - การดูแลทั่วไป (General  Care  Delivery) ทีมผู้ให้บริการให้การดูแลผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีปลอดภัย เหมาะสม ตา
      มาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ มีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปลอดภัย ทันเวลา โดยมอบหมายความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยให้แก่ผู้ที่มี
      คุณสมบัติเหมาะสม การดูแลในทุกจุดบริการเป็นไป ตามหลักปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ

      โดยค านึงถึงศักดิ์ศรีและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ความสะดวกสบายและความสะอาด การป้องกันอันตราย/ความเครียด/เสียง/
      สิ่งรบกวนต่าง ๆ ทีมผู้ให้บริการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติหรือภาวะฉุกเฉินอย่างเหมาะสมและปลอดภัยรวมถึงประเมิน
      ความคาดหวังของครอบครัวในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย และตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ในลักษณะองค์รวม ที่ครอบคลุม
      ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งควรมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม
      เพื่อความต่อเนื่องในการดูแล
                - การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (Care  of High - Risk  Patients  and  Provision  of  High - Risk
      Services) ทีมผู้ให้บริการให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม
      ตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วยในกลุ่ม Emergency ทั้งหมด โดยมีการจัดท าแนวทางการดูแลผู้ป่วย
      กลุ่มเสี่ยงสูงที่ระบุไว้ทั้งหมด บุคลากรต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อน าแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงมาสู่การปฏิบัติ
      การท าหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง คือ การรักษาด้วยไฟฟ้า ต้องท าในสถานที่ที่เหมาะสม มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและผู้ช่วยที่จ าเป็น
      มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วยและด าเนินการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้
      ทันท่วงทีเมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติควรมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือและให้ค าปรึกษาทีมผู้ให้บริการอย่าง

      ทันท่วงที ในการประเมินผู้ป่วย มีการช่วย stabilize ผู้ป่วย มีการสื่อสาร การให้ความรู้และการย้ายผู้ป่วยถ้าจ าเป็น รวมถึง
      การติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อน ามาปรับปรุง
      กระบวนการดูแลผู้ป่วย





                                                   แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด   62
                                                   ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72