Page 68 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 68
บทที่ บทที่ บทที่ บทที่ บทที่
1 2 3 4 5
- การฟื้นฟูสภาพ ควรมีการวางแผนฟื้นฟูสภาพให้แก่ผู้ป่วยตามผลการประเมินด้านร่างกาย จิตใจสังคม และจิตวิญญาณ
ของผู้ป่วยแต่ละราย เพราะการฟื้นฟูสภาพช่วยฟื้นฟูยกระดับ หรือธ ารงไว้ซึ่งระดับที่เหมาะสมในการใช้งานของอวัยวะต่างๆ การดูแล
ตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเอง การพึ่งตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งบริการฟื้นฟูสภาพต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กฎระเบียบ
และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
4.5 การให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว (Information and Empowerment for Patients/Families)
ทีมผู้ให้บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว และกิจกรรมที่วางแผนไว้เพื่อเสริมพลังผู้ป่วย/ครอบครัว
ให้มีความสามารถและรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งเชื่อมโยงการสร้างเสริมสุขภาพเข้าในทุกขั้นตอนของการดูแล
โดยการประเมินผู้ป่วย เพื่อวางแผนและก าหนดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินครอบคลุมปัญหา/ความต้องการของผู้ป่วย
ขีดความสามารถ ภาวะทางด้านอารมณ์และจิตใจ ความพร้อมในการเรียนรู้และดูแลตนเอง การให้ข้อมูลที่จ าเป็นและช่วยเหลือให้เกิด
การเรียนรู้ส าหรับการดูแลตนเองและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีแก่ผู้ป่วยและครอบครัวอย่างเหมาะสมกับปัญหา
ทันเวลา มีความชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่าย มีการประเมินการรับรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการน าข้อมูลที่ได้รับไปปฏิบัติ
การให้ความช่วยเหลือทางด้านอารมณ์ จิตใจ และค าปรึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยและครอบครัว และต้องร่วมกันก าหนดกลยุทธ์การดูแล
ตนเองที่เหมาะสมส าหรับผู้ป่วยรวมทั้งติดตามปัญหาอุปสรรคในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมเสริมทักษะที่จ าเป็นให้แก่
ผู้ป่วย/ ครอบครัว และสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วย/ครอบครัวสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง รวมถึงการประเมินและปรับปรุงกระบวนการ
จัดการเรียนรู้และการเสริมพลังผู้ป่วย/ครอบครัว
4.6 การดูแลต่อเนื่อง (Continuity of Care) ทีมผู้ให้บริการสร้างความร่วมมือและประสานงานเพื่อให้มีการติดตาม
และดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่ให้ผลดี ดังนี้
- กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่ต้องใช้ขั้นตอนการจ าหน่ายและการส่งต่อผู้ป่วยเป็นกรณีพิเศษ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย
ที่ต้องใช้ขั้นตอนการจ าหน่ายเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนปลอดภัย ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยง
สูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI - V) ผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแลหลัก กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องส่งต่อไปเพื่ออยู่ในการดูแลของหน่วยงานรัฐ เช่น
กรมราชทัณฑ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถานสงเคราะห์ กระทรวงยุติธรรม สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
และเยาวชน และกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเฉพาะทางระดับสูง
ทั้งนี้ โรงพยาบาลควรจัดท าแนวทางการจ าหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่ต้องใช้ขั้นตอนการจ าหน่ายและการส่งต่อผู้ป่วย
เป็นกรณีพิเศษทั้ง 3 กลุ่ม ดังกล่าวข้างต้นให้มีความชัดเจน
- การดูแลขณะส่งต่อควรด าเนินการโดยบุคลากรที่มีศักยภาพ และมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างการส่งต่อ
อย่างเหมาะสม ตามชุดความรู้ส าหรับการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤตสุขภาพจิตและสารเสพติด ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- มีระบบนัดหมายผู้ป่วยกลับมารับการรักษาต่อเนื่องเมื่อมีข้อบ่งชี้ มีระบบช่วยเหลือและให้ค าปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่
ออกจากโรงพยาบาลตามความเหมาะสม
- หน่วยงานสร้างความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยบริการสุขภาพ องค์กร ชุมชน และภาคส่วนอื่นๆ เพื่อให้เกิด
ความต่อเนื่องในการติดตามดูแลผู้ป่วยและบูรณาการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเข้าในกระบวนการดูแลผู้ป่วย
- มีการสื่อสารข้อมูลของผู้ป่วยให้แก่หน่วยบริการที่เกี่ยวข้องในการดูแลต่อเนื่อง ทั้งภายในองค์กรและองค์กร
ภายนอก โดยค านึงถึงการรักษาความลับของข้อมูลผู้ป่วย
5. หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลที่ก าหนดไว้ในกฎหมาย หรือ ผ่านกระบวนการขอจัดตั้งเป็นสถานพยาบาล
ยาเสพติดตามกฎหมาย สามารถด าเนินการได้เลยโดยไม่ต้องมาขอจัดตั้งซ้ าอีก โดยถือเป็นบริการหนึ่งในการบ าบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติด และในกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพ HA ยาเสพติด ให้ปฏิบัติแบบบูรณาการร่วมกันในหน่วยงาน
แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
63
ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด