Page 64 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 64

บทที่            บทที่          บทที่         บทที่         บทที่
                      1                2              3             4              5






                    การจัดตั้งและพัฒนาการจัดบริการหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป สังกัด
      ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เน้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดระยะฉุกเฉิน ไม่เกิน 7 - 14 วัน เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชและ
      ยาเสพติดในเขตสุขภาพได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นองค์รวม ทันต่อเวลา ครอบคลุมทั้งการดูแลอาการทางจิตในระยะฉุกเฉินให้อาการ

      ทางจิตสงบเป็นการป้องกันร่วมกับการดูแลภาวะโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนทางกายให้อาการคงที่ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบ
      บริการแบบไร้รอยต่อในเขตสุขภาพ


      การจัดตั้งหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด

             1. โครงสร้างอาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยกองแบบแผนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง
      สาธารณสุข ได้จัดท ารูปแบบของหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ให้สอดคล้องกับหอผู้ป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย ห้องนอน
      ผู้ป่วยสามัญ ห้องพักแยกสังเกตอาการ (Seclusion room) และห้องแยกโรค (Negative pressure room) แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 3 ส่วน

      ได้แก่ พื้นที่บริการส าหรับผู้ป่วยและญาติ พื้นที่ปฏิบัติงานหลักของผู้ให้บริการและ/หรือเจ้าหน้าที่ พื้นที่สนับสนุนการให้บริการและ
      การปฏิบัติงาน โดยจัดรูปแบบจ านวนเตียง 3 ขนาด ดังนี้
                    1.1 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ขนาด 10 - 19 เตียง (Ward size S)
                    1.2 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ขนาด 20 - 25 เตียง (Ward size M)

                    1.3 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ขนาด 26 - 35 เตียง (Ward size L)
      ทั้งนี้ สถานพยาบาลสามารถเลือกใช้แบบอาคารผู้ป่วยในได้ตามบริบทและนโยบายของสถานพยาบาล
             2. เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วย
                    2.1 เครื่องวัดสัญญาณชีพ (Vital sign Monitor)

                    2.2 เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
                    2.3 เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเคลื่อนที่ (Ambulance ECG monitoring)
                    2.4 เครื่องช่วยชีวิต/เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator, AED)
                    2.5 รถเข็นพยาบาล (Emergency cart)/CPR Box Set

                    2.6 ถังออกซิเจน 6 คิว พร้อมหัวเกย์
                    2.7 เครื่องดูดเสมหะ (Suction)
                    2.8 ผ้าผูกยึดผู้ป่วย
                    2.9 เก้าอี้ส าหรับผูกยึดหรือจ ากัดพฤติกรรม

                    2.10 เครื่องรักษาโดยการท าให้ชักด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบติดตาม (Electroconvulsive Therapy: ECT with
             monitoring) กรณีสถานพยาบาลมีการจัดบริการรักษาด้วยไฟฟ้ารูปแบบ Modified ECT
                    2.11 เครื่องดมยาสลบพร้อมเครื่องช่วยหายใจ และเครื่องตรวจวัดคาร์บอนไดออกไซด์และดมยาสลบในลมหายใจออก
             ส าหรับการผ่าตัดพื้นฐานที่จ าเป็น (Anesthetic  machine  and  ventilator  with  gas  monitoring: mandatory)

              (อาจใช้ร่วมกับแผนกอื่นได้)
      ทั้งนี้ สถานพยาบาลสามารถอ้างอิงราคากลางของเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ตาม “บัญชีรายการครุภัณฑ์ ส านักงานปลัดกระทรวง
      สาธารณสุข”










            แนวทางการด าเนินงานการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
    59
            ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69