Page 32 - version 4 260566
P. 32

บทที่ 4 แผนปฏิบัติราชการกองบริหารการสาธารณสุข พ.ศ. 2566 - 2570
                       ทิศทางของแผนปฏิบัติราชการการพัฒนากองบริหารการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐

               ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายสูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ และเป้าประสงค์
               ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
               4.1 ทิศทางการพัฒนากองบริหารการสาธารณสุข (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

               วิสัยทัศน์ (Vision)

                     “องค์กรนวัตกรรม สมรรถนะสูง เพื่อระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ทันสมัย และเป็นสากล”
                     (High-Performance Innovation for Modern and Universal Healthcare System)


               กรอบ นิยามของวิสัยทัศน์ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐
               องค์กรนวัตกรรม สมรรถนะสูง (Innovative and High Performance Organization) หมายถึง
                      ๑)  ความสำเร็จในการกำกับ ขับเคลื่อน นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพ ให้เป็น
               นโยบายในทุกระดับ (Health in All Policy) ถูกนำไปปฏิบัติอย่างบูรณาการและดำเนินการครบวงจรจนเกิดเป็น

               ผลสัมฤทธิ์ และสังเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูล ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจของ
               ผู้บริหาร (Smart Enable)
                      ๒)  การเป็นแหล่งกลางของการสร้างสรรค์ และสร้างคุณค่า มูลค่าจากนวัตกรรมเพื่อการยกระดับ

               การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ตามความจำเป็นของแผนการบริการสุขภาพและนโยบาย ยุทธศาสตร์ กระทรวง
               และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Smart Creative Innovation in Healthcare Service System)
                      ๓)  การมีขีดความสามารถสูงขององค์กร บุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการขับเคลื่อน การจูงใจ
               การสนับสนุน การประสานเชื่อมโยงและระดมพลังภาคีเครือข่าย การจัดการการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากร

               การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เพื่อการสนองความจำเป็นเชิงนโยบาย และยุทธศาสตร์ของ สำนักงาน
               ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Smart Competence and Expertise) จนเป็นที่เชื่อมั่น ยอมรับ และวางใจได้ของ
               ผู้บริหาร หน่วยบริการ และหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ (Smart Facilitator and Counselor)
                      ๔)  มีรูปแบบหรือนวัตกรรมที่สามารถรองรับความจำเป็นของประเทศด้านการพัฒนาระบบบริการ

               สุขภาพ และนโยบายของ กระทรวงสาธารณสุขในการบริหารการสาธารณสุขให้มีความยั่งยืน ให้ความสำคัญกับ
               ความเป็นมนุษย์ การรักษาสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ดีงามของประเทศ  (Smart Health Management Literacy)
               ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ทันสมัย และเป็นสากล (Quality and Modernize of Healthcare
               System) หมายถึง

                      ๕)  การมีระบบ กลไก เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนให้หน่วยบริการและหน่วยบริหารทุกระดับ
               มีคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล และสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับองค์กรภาคีทั้งในระบบสาธารณสุข
               และนอกระบบสาธารณสุขและทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Smart Alliance Management)

                      ๖)  ความทันสมัยของระบบการพัฒนา ระบบการขับเคลื่อน และระบบการบริหารจัดการระบบบริการ
               สุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์กลาง
               ฐานข้อมูลระดับชาติด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และทันสมัย (Smart Digital in
               Healthcare System)







             26
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37