Page 28 - version 4 260566
P. 28

๖)  ข้อจำกัดของระเบียบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ยังไม่สามารถรองรับการธำรงไว้ซึ่งบุคลากร
               คุณภาพและการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่ที่รับผิดชอบ

                       ๗)  บทบาทและภารกิจของกองบริหารการสาธารณสุข เข้าไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
               ที่หลากหลายทั้งในกระทรวงและนอกกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีปัจจัย ตัวแปร ที่ไม่สามารถควบคุมได้
               ทั้งในเชิงนโยบายและข้อจำกัดของระเบียบ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการขับเคลื่อนงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
                       ๘)  ความคาดหวังของผู้รับบริการในระบบบริการสุขภาพที่มากกว่าความจำเป็นเชิงคุณภาพตาม

               มาตรฐานทางการแพทย์ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการที่มีความกดดัน ความเครียด และเป็นส่วนที่ทำให้มีการ
               สูญเสียบุคลากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของหน่วยบริการ
                       ๙)  ข้อจำกัดของระบบการจัดสรรงบประมาณในระบบการบริการสุขภาพของประเทศ และภาวะ
               ด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการทำให้ไม่สามารถวางแผนพัฒนาบริการตามแผนบริการสุขภาพให้เป็นไป

               ตามเป้าหมาย และส่งผลกระทบต่อระบบการส่งต่อ
                       ๑๐) ข้อจำกัดของการพัฒนาศักยภาพเขตสุขภาพ ทั้งด้านการบริหารจัดการสำนักงาน การบริหาร
               ทรัพยากรบุคคล และระบบงบประมาณที่ยังพึ่งพิงหน่วยงานอื่นเป็นหน่วยเบิกจ่าย ส่งผลให้การขับเคลื่อนการ
               พัฒนาการบริการสุขภาพในรูปแบบเขตสุขภาพไม่เป็นไปตามแผน

                       ๑๑) ความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติของการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการ
               ผ่านความร่วมมือรัฐ-เอกชน ทำให้หน่วยบริการไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       ๑๒) ความหลากหลายของภารกิจสุขภาพแรงงาน ทั้งแรงงานที่เป็นคนไทยและแรงงานจากประเทศ

               เพื่อนบ้าน และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลายๆ หน่วยงาน ทำให้เป็นปัญหาในการบริการและการเชื่อมโยง
               ภารกิจ ข้อมูลระหว่างกัน
                       ๑๓) ปัญหาการขาดแคลนยา ระบบการบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อยา และระเบียบและข้อจำกัดด้านการ
               จัดซื้อยาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่รองรับความจำเป็นและปัญหาด้านยาและเภสัชกรรมในระบบบริการสุขภาพ
               ทำให้กระทบต่อความต้องการในเชิงนโยบายที่ประสงค์ให้มีการจัดซื้อร่วมกันเพื่อการประหยัดต้นทุน

                       ๑๔) ปัญหาของระบบงานยาเสพติดและสารเสพติดที่เกี่ยวข้องกับภาคีหลายภาคส่วนที่ยังไม่สามารถ
               บูรณาการและเชื่อมโยงการปฏิบัติงานและเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้ระบบติดตามและเฝ้าระวัง
               ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และคุกคามต่อการพัฒนาระบบบำบัด ฟื้นฟู และลดอันตรายจากยาเสพติด



















             22
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33