Page 27 - version 4 260566
P. 27
ในการแข่งขันของหน่วยงานรัฐ เป็นโอกาสในการแสวงหาการมีส่วนร่วมและระดมพลังภาคีทุกภาคส่วนร่วม
ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้วยกลไกของประชารัฐ การลงทุนร่วม
ระหว่างรัฐกับประชาชน
๕) ความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว การเติบโตของพื้นที่สามเหลี่ยม
เศรษฐกิจภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเป็นโอกาสสำคัญในการยกระดับการพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพสู่สากล
๖) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำมาใช้ ปรับ เปลี่ยน
ปฏิรูป เพิ่มการบริการและบริหารของ กองบริหารการสาธารณสุข และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและ
บริการผ่านเครือข่ายดิจิทัลที่สามารถทำได้ง่ายขึ้น เป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเชื่อมโยงบริการและ
การพัฒนาบริการแก่หน่วยบริการ
๗) การบริหารงบลงทุนในระบบเขตสุขภาพ การปรับระบบการบริหารภูมิภาคของประเทศจากกลุ่ม
จังหวัดเป็นภาคทำให้เป็นโอกาสในการเข้าถึงงบลงทุนเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับพื้นที่ที่มีมากขึ้น
๘) การเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศด้านงาน คน เงิน ของ กับหน่วยบริการและบริหารทั้งใน
ส่วนกลางและภูมิภาค ทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพื่อการ
จัดการทรัพยากรในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
๙) การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
แรงงานและความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อการดูแลสุขภาพในทุกกลุ่มวัยที่เป็นโอกาสในการพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพของประเทศให้เป็นสากล
๑๐) แนวนโยบายแห่งรัฐทั้งของรัฐบาลและภารกิจขององค์กรภาคีทั้งในระดับกระทรวงและกรม
ต่างๆ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริและโครงการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมวงศานุวงศ์
ทุกพระองค์ ทำให้เป็นโอกาสในการประสานความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อการสนับสนุนการบริการสุขภาพและ
การบริการของประชาชน
อุปสรรค (Treat: T)
๑) ความหลากหลายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่หน่วยบริหารและหน่วยบริการใช้มีความ
แตกต่างกันทำให้การเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อการพัฒนาการทำงานระหว่างกันมีข้อจำกัด
๒) ความไม่ต่อเนื่องในเชิงนโยบายในระดับรัฐบาลและการขับเคลื่อนในระดับกระทรวงทำให้
การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง และเกิดความสับสนต่อหน่วยบริหารและหน่วยบริการในทางปฏิบัติ
๓) การเพิ่มมากขึ้นของภัยคุกคามทางสุขภาพและความซ้ำซ้อนของปัญหาสุขภาพ อีกทั้ง
การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
มากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาการบริการ การเกิดความแออัดในหน่วยบริการ และต้นทุนการบริการที่เพิ่มสูง
ซึ่งเป็นอุปสรรคท้าทายอย่างสำคัญต่อการจัดสรรงาน เงิน คน ของ ที่ทันต่อสภาพปัญหา
๔) ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เกิดจากหลายหน่วยงาน
ทั้งภายในกระทรวงและนอกกระทรวง
๕) ข้อจำกัดทรัพยากร (งาน เงิน คน ของ) ที่ได้รับการจัดสรร ยังไม่สามารถรองรับต่อความจำเป็น
ในการพัฒนาการบริการสุขภาพ และแนวปฏิบัติในการอนุมัติงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบกับความ
จำเป็นในการใช้งบประมาณของหน่วยบริการและหน่วยบริหารยังไม่สอดคล้อง และขาดการบูรณาการที่เป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ
21