Page 37 - version 4 260566
P. 37
๔. กลยุทธ์ มาตรการ และหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
กลยุทธ์ที่ ๑ สร้างสรรค์ข้อเสนอเชิงนโยบายและระดมพลังภาคีทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบาย
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขให้ถูกนำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ (กลุ่มงาน
ยุทธศาสตร์/กลุ่มงานบริหารงบลงทุนภูมิภาค/กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการ/กลุ่มงานพัฒนาระบบ
บริการเฉพาะ/กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการ/กลุ่มงานพัฒนาระบบบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดและสารเสพติด)
มาตรการ และแนวทางการดำเนินงาน
๑) ศึกษาสังเคราะห์บทเรียนที่ผ่านมา สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต เพื่อการจัดทำ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ การพัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการทรัพยากร
ในระบบบริการสุขภาพของหน่วยงานด้านสาธารณสุข การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อระบบบริการเฉพาะ
การพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลบริการสุขภาพผู้ป่วย
รายบุคคลในการวิเคราะห์แนวโน้มอัตราการป่วย อัตราการตาย
๒) การสร้างสรรค์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบบริการสุขภาพในสถานการณ์สุขภาพเฉพาะผ่านกลไก
การประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
เพื่อการกำหนดทิศทางในอนาคตร่วมกันในการพัฒนาระบบบริการเชิงพื้นที่ภัยคุกคามทางสุขภาพจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศโลก โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญคือความสำเร็จในการดำเนินงานของส่วน
ภูมิภาค การสร้างพื้นที่ต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง
๓) ระดมพลังภาคีทุกภาคส่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและ
การบริการสุขภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ให้มีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
ความจำเป็นในการดูแลสุขภาพของประชาชน การสนองตอบต่อการพัฒนาในระบบเขตสุขภาพ และการสอดรับ
กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ความเป็นเลิศเน้นการขับเคลื่อนการพัฒนา มีการใช้
เทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะ (Artificial Intelligence) ต่างๆ ในการให้บริการผู้ป่วย ในกิจกรรมบริการ
ผู้ป่วย การดูแลสุขภาพประชาชน การเฝ้าระวังภัยพิบัติ
๔) การระดมพลังภาคีทุกภาคส่วนเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพผ่านการเชื่อมโยงกับระบบ
ฐานข้อมูลทางสุขภาพ รองรับการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาทางสุขภาพ เพื่อการพัฒนาระบบการจัดการ
ทรัพยากรทางสุขภาพของประเทศร่วมกันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
๕) เสนอแนะนโยบายและกำหนดมาตรฐานเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำ
แผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) แนวทางเพื่อการนำนโยบายการพัฒนาระบบบริการ
สุขภาพ (Service Plan) สู่การปฏิบัติในหน่วยบริการและหน่วยบริหารที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่
พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาความเป็นเลิศในการขับเคลื่อนนโยบายแบบบูรณาการร่วมกับองค์กรภาคีเพื่อการ
พัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ เช่น การนำหลักการวางแผนกลยุทธ์ โดยใช้ Objectives & Key Results
(OKRs) มาใช้ในการดำเนินการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาไต เพื่อให้เกิดการเข้าถึง
อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้กัญชาทางการแพทย์ เพื่อสามารถเข้าถึง
ประชาชนมีทางเลือกในการรักษาและเข้าถึงได้ อีกทั้งยังสร้างระบบเครือข่ายบริการที่เชื่อมโยงกัน
ในระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ และจัดให้มีโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อ (Referral Hospital Cascade)
เพื่อใช้ทรัพยากรในเครือข่ายที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับส่งต่อผู้ป่วย
โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยครอบคลุมทุกจังหวัดทุกเขตตรวจราชการและส่วนกลาง
สามารถเชื่อมประสานการดูแลผู้ป่วยเป็นเครือข่ายตามบริบทและสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
๖) พัฒนาการติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการแพทย์และ
สาธารณสุข ในการสร้างมาตรการ กลไกเพื่อการพัฒนาสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์และระบบบริการสุขภาพ
มูลค่าสูง และสร้างสรรค์มาตรการ กลไก เพื่อการพัฒนา อย่างบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อสะท้อนการ
ดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่แบบการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการปฏิบัติ
31