Page 56 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 56
๒) ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ หรือก่อนการคลอด ด้วยการพัฒนากลไกของระบบบริการ
ปฐมภูมิ และทีมหมอครอบครัวเพื่อหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่เฉพาะ และการสร้างวัฒนธรรมการดูแลหญิงวัย
เจริญพันธุ์ และหญิงตั้งครรภ์ โดยครอบครัว ชุมชน และ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (จิตอาสา) พร้อมทั้งการ
ขับเคลื่อนการดูแลแม่และเด็กผ่านกลไก MCH Board ทุกระดับ และการขับเคลื่อนให้หญิงตั้งครรภ์ และแม่
ในระยะให้นมบุตรผ่านเกณฑ์มหัศจรรย์ 2,500 วัน ทั่วทั้งประเทศ
๓) การพัฒนาระบบส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอดในภาวะฉุกเฉิน และการจัดการความเสี่ยงของหญิง
ตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด เน้นการพัฒนาระบบบริการที่สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล
ที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ (Care Plan) เน้นการจัดระบบบริการที่มีคุณภาพ ทุกระดับ
๔) สร้างระบบติดตามสุขภาพแม่และเด็ก และเด็กปฐมวัยในกลุ่มเปราะบาง และพื้นที่เฉพาะ โดยเทคโนโลยี
ดิจิทัล ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลทุกระดับ (ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ)
- สร้างความต่อเนื่อง ในการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก และเด็กปฐมวัย ให้สามารถไปรับบริการ
ในสถานบริการทุกแห่งในประเทศ (Single Data)
- การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุม รักษา ฟื้นฟู และคุ้มครองผู้บริโภคหญิง
ตั้งครรภ์ หญิงในระยะให้นมบุตรรายบุคคล และรายโรค
- สร้างและพัฒนาระบบการติดตามและเตือนภัย รวมทั้งเชื่อมโยงกับศูนย์ประสานการส่งต่อในกลุ่มเสี่ยง
โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (GPS Alarm) เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารก ในพื้นที่เฉพาะ
พร้อมทั้งพัฒนาการบริการเชิงรุกในพื้นที่เข้าถึงยาก (ชุมชนเมือง ที่ราบสูง ชายแดน ทุรกันดาร)
โดยทีมหมอครอบครัวเป็นรายบุคคล และพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ อสม. ครู ตชด. จิตอาสา หมอตำแย
ในการดูแลฉุกเฉิน
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนลีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการ สุขภาพแม่และเด็กที่มีคุณภาพ และทันสมัย
และการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายให้มีขีดความสามารถสูง (SO)
มาตรการและแนวทางปฏิบัติ
๑) พัฒนาระบบการบริหารสุขภาพแม่และเด็กด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทันสมัย
- สร้างฐานข้อมูลบริการกลุ่มวัยแม่และเด็กให้สามารถเชื่อโยงข้อมูลในรูปแบบ Big data ทุกหน่วยงาน
สามารถนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้
- สร้างระบบ Digital Health เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล และการให้บริการ เพื่อให้บุคลากร
สามารถเข้าถึงบริกากร สื่อสารกับหน่วยงานภายนอกได้เป็นรูปแบบเดียวกัน
- พัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยให้กับบุคลากร เพื่อใช้ในการบริหาร
จัดการคลินิกบริการแม่และเด็กที่ได้มาตรฐาน
- ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อแม่และเด็ก เพื่อให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอด
องค์ความรู้เป็นการเพิ่มทักษะแก่บุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
ให้สอดคล้องและเท่าทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล
43