Page 52 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 52

แผนปฏิบัติราชการที่ ๑
                  การจัดการสุขภาวะประชาชนกลุ่มแม่และเด็กปฐมวัย ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มประชากรคุณภาพ ด้วยแม่คุณภาพ
                                       ลูกที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีทั้งปัญญา อารมณ์
               ๑. แนวคิดและหลักการ
                       สังคมไทยก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวน

               น้อยลง และการเกิดจำนวนหนึ่งไม่เป็นที่ต้องการ ผู้ให้กำเนิดขาดความพร้อม รวมทั้งประชากรสูงวัยกำลังมีเพิ่มขึ้นอย่าง
               รวดเร็ว ข้อท้าทายดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลายประเทศที่มีระดับการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจล้วนเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้
               ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบทวีปยุโรปจำนวนมาก หรือแม้แต่ประเทศพัฒนาในเอเชีย ทั้งญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

               ข้อท้าทายดังกล่าวนำไปสู่ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อสร้างสมดุลใหม่ของสังคมไทยการปรับเปลี่ยน
               ทัศนคติและฐานแนวคิดเพื่อดำรงไว้ซึ่งการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และลดความเหลื่อมล้ำตลอดช่วง
               ชีวิตของประชากรนับตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
                       ประเทศไทยไม่เพียงแต่ประสบกับปัญหาจำนวนการเกิดหรืออัตราการเจริญพันธุ์ลดลงเท่านั้น แต่ยังมีปัญหา

               ในด้านของคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา
               “เด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ” ซึ่งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาอัตราส่วนการตายมารดาของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง
               โดยอัตราส่วนการตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ. 2505 เป็น 24.26 ต่อเกิดมีชีพแสนคน
               ในปี พ.ศ. 2559 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (SDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 70 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน

               สาเหตุการเสียชีวิตของมารดาส่วนใหญ่เกิดจากการตกเลือดและความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบ
               อัตราส่วนการตายมารดาในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่าประเทศไทยมีอัตราส่วนการตายมารดาน้อย กว่าประเทศอื่นๆ
               เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ สำหรับอัตราในเด็กอายุ 0 - 5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงและต่ำกว่า
               ค่าเฉลี่ยโลก แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศในแถบภูมิภาคเดียวกันอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน สำหรับภาวะโภชนาการ

               และพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่าอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนัก ต่ำกว่า 2,500 กรัม ค่อนข้างคงที่ คือ ร้อยละ
               8.4 - 8.6 ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และเด็กอายุ 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วนมีแนวโน้ม
               เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 48 ในปี พ.ศ. 2559 เป็นร้อยละ 49.5 ในปี พ.ศ. 2560 (รายงานระบบ HDC) แต่ยังต่ำกว่า

               เป้าหมายคือ ร้อยละ 51 สำหรับส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี เด็กชาย 109.9 ซม. เด็กหญิง 109.3 ซม. (ข้อมูล HDC ไตรมาส 3
               ปี พ.ศ. 2560) ยังห่างจากค่าเป้าหมาย 3.1 ซม. และ 2.7 ซม. ในเด็กชายและเด็กหญิง ตามลำดับ จากผลการตรวจ
               คัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็ก ในกลุ่มนี้ (รายงานระบบ HDC) พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ
               98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการรณรงค์คัดกรองพัฒนาการเด็ก
               เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2559 - 2560 พบพัฒนาการสมวัยร้อยละ 76.7 และร้อยละ 77.9 ตามลำดับ

               ๒. วัตถุประสงค์
                 ๑) เพื่อลดปัญหาสุขภาพแม่และเด็กปฐมวัยลดลง ลดอัตราการตายของมารดาและทารกในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
                 ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการงานอนามัยแม่และเด็กที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และสอดคล้องกับบริบทพื้นที่

                 ๓) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพเด็กที่มีปัญหาสุขภาพไม่ผ่านเกณฑ์ให้มีสุขภาพทั้งกาย และจิตให้ดีกว่าเดิม
                 ๔) เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรเด็กไทยที่สมบูรณ์ทั้งสุขภาพ ปัญญา และอารมณ์



                                                                                                              39
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57