Page 15 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 15
2.4 เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria)
1. กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดทุกระดับ (ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด) รวมถึงผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาเสพติดหรือผู้ป่วย
ยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวช
2. กลุ่มผู้ที่มีระดับความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในระดับส้ม เหลือง
3. Stable organic condition (โรคร่วม/ภาวะแทรกซ้อนทางกาย อยู่ในระยะสงบ)
4. Post acute (พ้นระยะเฉียบพลัน) / Post detoxification (พ้นระยะถอนพิษ) 3 - 7 วัน
5. ประเมินกิจวัตรประจําวัน (Activities of Daily Living : ADL) การดูแลตัวเอง จากแบบประเมิน
กิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) มากกว่า 9
6. ผู้ป่วยและครอบครัว ยินยอมสมัครใจบำบัด
การนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาระยะกลาง ได้มาจาก
1. OPD Case (Walk in หรือ Failed OPD)
2. ระบบการส่งต่อผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด ที่ส่งมาจากโรงพยาบาล
ศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางของกรมการแพทย์และกรมสุขภาพจิต ตาม Service Plan
ของจังหวัด
2.5 เกณฑ์การคัดออก (exclusion criteria)
1. ผู้ที่มีระดับความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในระดับสีแดง
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย (high risk suicide) ประเมินโดยกลุ่มงานจิตเวช
และยาเสพติด ของโรงพยาบาลชุมชน
3. Unstable organic condition
4. มีโรคติดต่อในระยะแพร่เชื้อ เช่น AIDS, TB, Covid เป็นต้น
5. การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยตามระดับ OAS score มากกว่า 1
6. ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา
ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ส่ง Refer จากระบบ IMC เข้าระบบบริการจิตเวชฉุกเฉิน (Acute
Care) โรงพยาบาลในเขตสุขภาพ และโรงพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ตามระบบการส่งต่อ
Service Plan
2.6 แนวทางการประเมินผู้ป่วย เพื่อรับเข้าสู่การดูแลในรูปแบบมินิธัญญารักษ์
ผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด เมื่อเข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน
ระยะกลาง (Intermediate Care) ควรได้รับการประเมินอย่างครบถ้วน เพื่อเป็นข้อมูลการบำบัดรักษา
และให้การช่วยเหลือในปัญหาต่าง ๆ สามารถนำผลการประเมินมาประกอบการวางแผนบำบัดรักษาผู้ป่วย
เฉพาะราย จนผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ในสังคมต่อไปได้
09