Page 16 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 16
การประเมินผู้ป่วยผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติดระยะกลาง ประกอบด้วย
1. สัญญาณชีพ (Vital sign)
2. น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย
3. ข้อมูลส่วนบุคคล
4. ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด และประวัติการเข้ารับการบำบัดรักษา
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC, BUN, Electrolyte (Ca,PO4, Mg) LFT, Urinesubstance,
U/A, CXR, FBS, anti HIV, EKG, Hepatitis เป็นต้น ตามความจำเป็น และตามภาวะแทรกซ้อนจากยา
และสารเสพติดที่ใช้
6. การประเมินความเจ็บป่วยทางกายและจิตเวช
7. ประวัติการแพ้ยา แพ้อาหาร
8. การประเมินอาการถอนพิษยาตามประเภทยาและสารเสพติด
9. การประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q)
10. การประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q)
11. การประเมินแรงจูงใจในการหยุดใช้ยาและสารเสพติด
12. การประเมินภาวะทางสังคม/คุณภาพชีวิต/ครอบครัว เพื่อใช้ในการวางแผนต่อไป
13. ตรวจสอบประวัติคดีความ เพื่อประเมินความรุนแรงของการเสพ ความยากในการเลิก ปัญหา
พฤติกรรมที่ต้องเฝ้าระวัง
14. ประเมินผลข้างเคียงจากการได้รับยาจิตเวชในผู้ที่ได้รับยาจิตเวช
2.7 ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care)
1. สังเกตอาการและประเมินอาการทางจิตเวชและยาเสพติด ภาวะแทรกซ้อนทางกายและโรคร่วม
ตรวจค้นร่างกาย บาดแผล และรอยสัก และลงนามในหนังสือยินยอมรับการบำบัดรักษาในมินิธัญญารักษ์
2. ประเมินความรุนแรงของพฤติกรรม อารมณ์ จิตใจและสังคม
3. การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
4. การให้ข้อมูลการรักษา เช่น อาการของผู้ป่วยจากการใช้ยาและสารเสพติด ความรุนแรงของ
อาการทางจิต ภาวะแทรกซ้อนทางกายและโรคร่วม
5. การวางแผนการรักษาร่วมกับครอบครัว
6. การให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการได้รับยา
7. การให้การพยาบาลตามอาการและสภาพปัญหาของผู้ป่วย
8. การดูแลให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
9. การนำผู้ป่วยเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดตามตารางกิจกรรม (ตัวอย่างกิจกรรมตามข้อ 2.12)
10. การจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว
10