Page 17 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 17
11. การให้บริการให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม และรายครอบครัว
12. การจัดสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยต่อผู้ป่วย
13. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่อง (ร่วมกับครอบครัว/ ชุมชน) ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วย
14. การบันทึกข้อมูลตามระบบ
2.8 แนวทางการประเมินและวางแผนการบำบัดรักษาผู้ป่วยระหว่างเข้ารับการบำบัดรักษา
ในระยะกลาง (Intermediate Care)
ผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในระยะกลาง
(Intermediate Care) ควรได้รับการประเมินรายสัปดาห์ โดยประเมินอาการถอนพิษยา (Withdrawal
symptom) อาการทางกาย ทางจิต สังคมและครอบครัว เพื่อการปรับแผนการบำบัดรักษาและดูแลผู้ป่วย
ให้เหมาะสมในแต่ละราย ซึ่งมีแนวทางการประเมิน ดังนี้
กิจกรรม แบบประเมิน ระยะเวลา
1. สัญญาณชีพ - แรกเข้า และทุกวัน
2. ข้อมูลทั่วไป - แรกเข้า
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- น้ำหนัก ส่วนสูง BMI
- ประวัติการเข้ารับ
การบำบัดรักษา
- ประวัติการเจ็บป่วย
ทางกาย และทางจิต
- ประวัติการแพ้ยา
แพ้อาหาร
3. ประวัติการใช้ยาและ - ประเมินพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของ แรกเข้า
สารเสพติด ผู้รับบริการสุขภาพ จากแบบคัดกรองการใช้สาร ทุกสัปดาห์/ตามความ
เสพติด (ASSIST) เหมาะสม/ตามดุลพินิจ
- Stage of change แพทย์
4. การตรวจทาง 1. ตรวจเลือด แรกเข้า/ตามดุลพินิจ
ห้องปฏิบัติการ - วัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แพทย์
- วัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด
11