Page 306 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 306
H13
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันช่วงพักกลางวันของนักเรียน
โรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
นางวรินทร์ มนัสปัญญากุล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบัว จังหวัดนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
จากการดำเนินงานทันตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลทุ่งบัว ปีงบประมาณ 2566
ในการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน โรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม จากที่ได้รับการตรวจช่องปาก
310 คน เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 มีฟันผุถาวร 91 คน คิดเป็น
ร้อยละ 29.35 ทั้งนี้มีแนวโน้มเกิดโรคฟันผุที่สูงขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้มีฟันถาวรผุมากขึ้น
เมื่อโตขึ้นไปกว่านี้ ซึ่งเด็กนักเรียนวัดนิยมธรรมวรารามมีปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโรคฟันผุอันมาจากพฤติกรรม
การแปรงฟัน โดยจำแนกดังนี้ แปรงฟันหลังตื่นตอนเช้าทุกวัน ทำเป็นประจำ 196 คน คิดเป็นร้อยละ 74.52
ทำเป็นบางวัน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 22.81 ไม่เคยทำ 11 คน คิดเป็นร้อยละ2.67 แปรงฟันหลังอาหาร
กลางวันที่โรงเรียนทุกวัน ทำเป็นประจำ 63 คน คิดเป็นร้อยละ 23.95 ทำเป็นบางวัน 152 คน คิดเป็นร้อยละ
57.79 ไม่เคยทำ 49 คน คิดเป็นร้อยละ 18.63 แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน ทำเป็นประจำ 123 คน คิดเป็นร้อยละ
46.76 ทำเป็นบางวัน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 33.07 ไม่เคยทำ 54 คน คิดเป็นร้อยละ20.53 แปรงฟันนาน
2 นาที ทำเป็นประจำ 93 คน คิดเป็นร้อยละ 35.36 ทำเป็นบางวัน 119 คน คิดเป็นร้อยละ45.24 ไม่เคยทำ
51 คน คิดเป็นร้อยละ 19.39 ทำให้ผู้วิจัยสนใจในเรื่องพฤติกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของนักเรียน
ว่าเหตุใดนักเรียนจึงไม่ได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกคน ดังนั้น ผู้ดำเนินการวิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันช่วงพักกลางวันของนักเรียนโรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการหามาตรการป้องกัน และเป็นนโยบาย
ของโรงเรียนในแก้ไขปัญหาการแปรงฟันช่วงพักกลางวันของเด็กนักเรียนในกลุ่มดังกล่าวต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันช่วงพักกลางวันของนักเรียนโรงเรียน
วัดนิยมธรรมวราราม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
วิธีการศึกษา
รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบตัดขวาง (cross-sectional descriptive study)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 ในเขต
รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กำหนด
ความคาดเคลื่อน (Alpha) เท่ากับ 0.05 ใช้วิธีคำนวณค่าขนาดตัวอย่าง Taro Yamane 1973 จากขนาด
กลุ่มตัวอย่าง 310 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 171 คน เพื่อป้องกันการขาดหายของกลุ่มตัวอย่าง ในระหว่าง
การวิจัยผู้วิจัยจึงเก็บจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 180 คน
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้วิธี Cluster โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1.นำกลุ่มตัวอย่างมาจับฉลาก จากรายชื่อนักเรียนทั้งหมดตามทะเบียนรายชื่อ ของโรงเรียน